Page 62 -
P. 62
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เปลี่ยนอากาศได้ดีกว่า ซึ่ง ประสบ(2527) กล่าวว่า รูจมูกใหญ่
แสดงถึงความสามารถในการทำงาน เพราะมีการเอาก๊าซ
ออกซิเจนไปใช้ได้มาก และทำให้ถ่ายเทก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ออกได้ง่ายและรวดเร็ว นอกจากนี้ บางแห่งเชื่อว่ารูจมูกใหญ่
จะเป็นควายดื้อ แต่เป็นควายกินอาหารเก่ง อ้วนเร็ว
3.8 ขา ขาใหญ่ ดูกระดูกแข็งแรงทั้งขาหน้าและขาหลัง
ขาไม่สั้นเกินไป ขาหน้าตรง ขาหลังงอเล็กน้อย (เรียกว่าขาขอ)
ควายงานขาหลังจะไม่งาม ก้าวจะยาว เดินเร็ว ได้งานมาก
ส่วนขากะน่องลิง หรือกะน่องแมว (อธิบายมาแล้วในควาย
รูจมูกกลม งาม) เวลาเดินขาหลังจะกระทบ เสียดสีกัน ไม่ดี และไม่มีใคร
นิยมใช้ควายที่ขากระตุก หรือควายขาทกมาฝึกใช้งาน
(สอดคล้องทุกภาค)
3.9 เล็บเท้า (กีบ) เล็บเท้าหน้ากลมโต ยืนกีบตั้งตรง เรียก เล็บย่องหรือเล็บหยั่ง (ตั้ง) ข้อเท้าดู
แข็งแรง เล็บหลังไม่เก อุ้งกีบต้องใหญ่ เวลาไถนาขาจะไม่จมโคลน (แต่เวลาเดินบนพื้นดินเรียบ จะเดิน
ช้ากว่าควายกีบเล็ก) กีบไม่มีรอยแตก ถ้าเล็บยาว แบะเหมือนตีนเป็ด หรือก้ามปู จะชอบเจ็บเท้า เดินไม่
ดี ไม่เกาะดิน
3.10 หาง นิยมควายหางเต็มเบ้า หางยาวและฟอยหางยาว ซึ่งจะใช้ไล่แมลงได้ดี โดยเฉพาะ
การทำงานในช่วงเช้าและเย็น ควายจะถูกรบกวนด้วยเหลือบ ริ้น ตลอดเวลา นอกจากเจ้าของช่วยไล่
แมลงด้วยการวิดน้ำใส่แล้ว หางยาวๆ ของควายก็จะช่วยตวัดไล่แมลงไปด้วยทำงานไปด้วยตลอดเวลา
และไม่ค่อยพบเกษตรกรใช้ควายที่ขนหางสีขาวมาฝึกหัดใช้เป็นควายงาน
3.11 อวัยวะเพศผู้/เมีย ควายงานเพศเมีย คัดเลือกตามลักษณะควายแม่พันธุ์ ส่วนควายเพศผู้
ก็จะดูลักษณะต้องห้ามหรือลักษณะที่เป็นกาลกิณี
ที่เกี่ยวข้อง เช่น ควายลูกอัณฑะบิด หรือ มีปลาย
ลึงค์ดำ ก็ไม่นิยมนำมาฝึกใช้งาน เนื่องจากจะเป็น
ควายดื้อ พยศ และถ้าเป็นควายตัวผู้ที่ตอนไม่
ลง(ภาษาอีสานเรียกตอนฮาม) คือเดิมวิธีการตอน
จะทุบไข่ให้แตก และหมอตอนบางคนจะเหลือไข่
ไว้นิดหน่อย เชื่อว่าจะทำให้ควายงานแข็งแรง
กว่า ซึ่งอาจจะมาจากที่ยังสามารถสร้างฮอร์โมน
เพศได้ เวลาไถนาไป ถ้าได้กลิ่นควายตัวเมียที่เป็น
สัด ก็จะพาไถวิ่งไม่ยอมทำงาน สร้างปัญหาให้กับ
เจ้าของได้ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ควายงานเพศผู้
ส่วนใหญ่จะต้องได้รับการตอน
ภูมิปัญญา 52 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา