Page 34 -
P. 34
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 3
การคัดเลือกควายโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. การคัดเลือกควายงามตามอุดมคติ หรืออุดมทัศนีย์ (Ideal type) ในทัศนะของ
เกษตรกรภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถรวบรวมเป็นประเด็นตามลำดับได้ ดังนี้
1.1 เอกลักษณ์เฉพาะของควายไทย ผลการศึกษาภูมิปัญญาไทย ของเกษตรกรผู้มีภูมิปัญญา
ไทยทั่วประเทศ ได้ระบุลักษณะหลายประการที่ตรงกัน ซึ่งหากปรากฏลักษณะนี้แล้วสามารถยืนยันว่า
เป็นควายไทยแท้ ไม่ใช่ควายลูกผสม หรือควายที่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน และถ้ามีครบถ้วนจึง
จะถือว่าเป็นควายงามชั้นหนึ่ง ดังนี้
1.1.1 อ้องคอ หรือบั้งคอ/
บ้องคอ คือขนและผิวหนังสีขาวรูปตัววี
(V) เหมือนแถบบั้งนายสิบ (Chevron)
พาดขวางบริเวณใต้คอ อยู่ช่วงระหว่างอก
ลูกมะพร้าวถึงคอต่อ ซึ่งมีความเชื่อว่า
นอกจากเป็นลักษณะส่งเสริมให้ควายดูงาม
เหมือนใส่สร้อยคอแล้ว ยังถือเป็นลักษณะ
มงคลด้วย (จรัญ, 2527) และสามารถใช้
แถบนี้ จำแนกควายได้ 3 แบบ คือ
1) ควายสามอ้อง
ตำแหน่งของอ้องหรือแถบขาวตัววี ที่
ตำแหน่งใต้คอต่อ ตรงกับเชือกผูกคอ 1
แถบ และบริเวณเหนืออกลูกมะพร้าว
(บริเวณใกล้สายรัดแอกใหญ่เวลาใส่แอก
ไถนา หรือเทียมเกวียน) ซึ่งจะแตกออก
เป็น 2 แถบชิดกันอยู่ รวมเป็น 3 แถบ ถือว่าเป็นมงคลมาก และงามมาก
2) ควายสองอ้อง หรือสองแอก มีขนสีขาวรูปตัววีเพียง 2 แถบ ตรงกับเชือกผูก
คอ 1 แถบ และบริเวณเหนืออกลูกมะพร้าวอีก 1 แถบ เป็นลักษณะควายงามทั่วไป
3) ควายทั่วไป ควายที่เลี้ยงกันอยู่ทั่วไป ที่เป็นควายปลัก จะต้องมีอ้องคอสีขาว
โดยอาจจะมีระหว่าง 1- 2 แถบ แต่ว่าขนสีขาวรูปตัววี มองเห็นไม่ชัดเจนบางตัวถ้าไม่สังเกตให้ดีก็จะ
มองไม่เห็น ซึ่งส่วนใหญ่จะชัดเจนเพียง 1 แถบ และไม่นับเป็นควายงาม
ภูมิปัญญา 24 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา