Page 36 -
P. 36
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คำอธิบายเพิ่มเติม
ก) ควายที่ภูมิปัญญาไทยระบุว่างามยอดเยี่ยม จะ
ต้องมีจุดขาวนี้ครบ 3 ตำแหน่ง คือ มีกระพี้จับที่ตา จับที่แก้ม
และแต้มที่คาง ส่วนควายที่งามลดลงมา และควายที่เลี้ยงกัน
ทั่วไป จะมีจุดขาวแต้มเฉพาะบางตำแหน่ง ขนาดเล็ก และสี
ขาวไม่ค่อยเด่นชัด เป็นต้น
ข) ควายที่มีจุดขาวบนใบหน้าในตำแหน่งที่เหมาะสม
จะดูเด่น สะดุดตาผู้พบเห็น รวมถึงกรรมการที่ทำการตัดสินการ
ประกวดด้วย (เหมือนการแต่งเติมใบหน้าของสุภาพสตรี)
ฃ) คำพูดที่เข้าใจและสื่อสารกัน คือ “ตาแต้ม แก้ม
จ้ำ”
1.1.3 ข้อเท้าขาว ข้อเท้าขาว จากเล็บขึ้นมาถึง
ข้อเข่าขาหน้า และขาหลัง มองดูเหมือนใส่ถุงเท้าสีขาว โดยจะมี
สีดำขีดขวางตรงตำแหน่งข้อกีบ โดยในตำแหน่งของขาหลังจะมี
สีดำชัดเจนกว่าขาหน้า
คำอธิบายเพิ่มเติม
ก) ควายยอดเยี่ยม จะเห็นถุงเท้าสีขาว
ชัดเจน ทั้งขาหน้า และขาหลัง และสีดำตรงข้อต่อ
กีบชัดเจน ส่วนควายงามจะเห็นถุงเท้าสีขาวชัดเจน
ปานกลาง และสีดำตรงข้อต่อกีบไม่ชัดเจน นอกนั้น
ถุงเท้าขาว ก็จะเป็นควายทั่วไป ซึ่งสีขาวของเท้าไม่ชัดเจน คาด
สีดำตรงข้อต่อกีบกับขาก็ไม่ชัดเจน
ข) สีขาวไม่ใช่สีเหมือนควายเผือก แต่เป็น
ป้องขาดำ
สีขาวปกติ
ฃ) สีดำตรงข้อต่อกีบนี้ เรียก “ป้องขาดำ” ซึ่งกล่าวถึงในโสกควายงามของล้วน(2553) ว่า
ควายงามต้องมี “สามอ้อง ป้องขาดำ”
1.1.4 ขั้วอัณฑะและปลายลึงค์ ควายไทยจะมีขั้วอัณฑะสั้น เกือบติดท้อง ไม่คอดกิ่ว และ
ปลายลึงค์จะหย่อนลงเล็กน้อย แตกต่างกับควายมูร่าห์หรือควายลูกผสม ทำให้สามารถจำแนกความ
แตกต่างควายไทยแท้กับควายลูกผสมได้ ซึ่งถ้าเห็นขั้วอัณฑะหย่อนยาน ปลายลึงค์หย่อน ประกอบกับ
ร่างกายมีขนยาว สีขนและหนังสีดำสนิท แสดงว่าเป็นควายลูกผสม ที่มีสายเลือดควายมูร่าห์หรือควาย
แม่น้ำอยู่ไม่มากก็น้อย
ภูมิปัญญา 26 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา