Page 38 -
P. 38

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   1.2 ขวัญ และลักษณะกาลกิณี (ลักษณะอัปมงคลหรือลักษณะต้องห้าม)
                   ควายงามที่สมบูรณ์พร้อมจริงๆ ปราชญ์ภูมิปัญญาไทยทั้งหลาย เชื่อว่าจะต้องมีขวัญดีประกอบ
            ซึ่งขวัญที่ดีเป็นมงคล จะช่วยส่งเสริมให้ควายมีความงามสง่า ถูกตาต้องใจของผู้คน และขายได้ราคาสูง

            กว่าควายทั่วไป ปราชญ์ผู้เลี้ยงและคัดเลือกควายงาม  จึงต้องมีภูมิปัญญาด้านนี้อย่างเต็มเปี่ยม  เพื่อ
            สามารถตรวจสอบลักษณะขวัญได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งต้องมีภูมิปัญญาในการดูลักษณะกาลี คือลักษณะ
            ที่ไม่เป็นมงคล ซึ่งจะทำให้ส่งผลเสียต่อเจ้าของ ซึ่งภูมิปัญญาด้านนี้ถือเป็นสมบัติที่สำคัญของคนไทยอีก
            ประการหนึ่ง และเรื่องขวัญและลักษณะกาลกิณีนี้ ที่ผ่านมายังไม่มีการให้คะแนนในการประกวดควาย

            งาม เนื่องจากหลายอย่างยังไม่สามารถพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ว่าเกี่ยวข้องกับลักษณะการให้ผลผลิต
            โดยตรงหรือไม่ แต่ควายที่มีลักษณะที่ปราชญ์ชาวบ้านระบุว่าเป็นลักษณะกาลกิณี เช่น กระดูกหลอด
            หรือดูกสุด ส่วนใหญ่ก็จะถูกคัดออกจากคณะกรรมการโดยปริยายอยู่แล้ว และนอกจากนี้ในเรื่องขวัญ
            หรือลักษณะต้องห้าม ส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงกับลักษณะนิสัยของควายหลายอย่าง ซึ่งจำเป็นในการบังคับ

            ควบคุมเพื่อใช้งาน ภูมิปัญญาเรื่องนี้ของบรรพบุรุษ จึงสมควรที่จะได้รับการสืบทอดสานต่อและทำการ
            พิสูจน์ตรวจสอบในทางวิทยาศาสตร์ต่อไป(รายละเอียดปรากฏใน การคัดเลือกควายโดยการดูขวัญ และ
            ลักษณะกาลกิณี)


                   1.3  ลักษณะอื่นของควายงาม
                   นอกจากลักษณะเด่นจำเพาะหรือลักษณะที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์สำหรับควายไทยแล้ว ซึ่งน่าจะ
            รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ และส่งเสริมการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ วิธีการที่ง่ายและเป็นไปได้คือเพิ่มคะแนน
            การประกวดควายในหมวดเอกลักษณ์ควายไทยเข้าไปด้วย ก็จะช่วยได้ทันที นอกจากลักษณะเด่นของ

            ความเป็นควายไทยแล้วเกษตรกรภูมิปัญญาตามภาคต่างๆ  ของประเทศ  ยังได้เพิ่มเติมรายละเอียด
            ในแต่ละส่วนของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะต่างๆ  โดยได้แบ่งกลุ่มข้อมูลเรียงตามลักษณะอุดมคติของ
            ควายไทย ที่ประสบ (2527) ได้ทำการบันทึกไว้ ดังนี้


                       1.3.1 ลักษณะทั่วไป
                             1)  ลักษณะรูปร่างโดยรวม มองดูสมส่วน (เต็มหน้า เต็มหลัง) มองด้านข้างเป็น
            สี่เหลี่ยมผืนผ้า ลำตัวลึก มีความจุมาก สวาบหรือส่วง(อีสาน)แคบ มองดูเห็นซี่โครงจับสูง ควายที่ซี่โครง
            จับต่ำ จะเป็นควายหลาบเสือ คือมีแต่ส่วนลึก แต่ไม่มีความกว้างของลำตัว(คล้ายตัวของเสือ)

                             2)  ขนาดและน้ำหนัก ควายเพศผู้ นอกจากงามแล้วต้องมีความเหมาะสมที่จะนำ
            ไปใช้ทำเป็นพ่อพันธุ์เพื่อให้ลูกที่ดี ลูกโตเร็วได้ด้วย ส่วนใหญ่จึงเห็นว่า ควายงามที่จะใช้ทำพ่อพันธุ์ได้ต้อง
            มีน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ระหว่าง 700-1,000 กิโลกรัม ส่วนแม่พันธุ์ น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ควรอยู่ระหว่าง
            350-500 กิโลกรัม นอกจากนี้ ต้องดูความเหมาะของขนาดร่างกายเทียบกับอายุด้วย ในกรณีนี้เห็นว่า

            ควายพ่อพันธุ์เป็นเรื่องที่ไม่ยากที่จะคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ตามที่เกษตรกรภูมิปัญญาระบุ แต่ควาย
            เพศเมียที่มีน้ำหนักถึง 500 กิโลกรัม เริ่มหายาก ซึ่งมีความจำเป็นที่กรมปศุสัตว์ในฐานะผู้มีส่วนรับผิดชอบ





                                        ภูมิปัญญา   28     การคัดเลือกควายไทย                                                                   ภูมิปัญญา
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43