Page 40 -
P. 40
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาหารเก่ง ก็จะอ้วนสมบูรณ์ ตามคำกล่าวของคนอีสานที่ว่า “อ้วนดี
พีงาม” หมายความว่าถ้าอ้วนแล้วจะดี คือ ดูดี ดูงามกว่าควายที่ผอม
ดังนั้น ควายที่มีความงามส่วนอื่นๆ เท่ากัน ตัวที่อ้วนกว่าก็มักเป็นตัวที่
ชนะเสมอ
5) ขน มีความยาวปานกลาง ไม่ยาวเกินไป ขนเส้น
ใหญ่พอดี ไม่มากเกินไป ส่วนสีของขนได้กล่าวมาแล้ว โดยถ้าเป็นควาย
ขนค่าง (หมายถึง สัตว์กลุ่มลิง ค่าง บ่าง ชะนี) หรือขนแมว คือ ลักษณะ
ขนยาว เส้นอ่อน จะเป็นควายที่ไม่ทนแดด ร้อนง่าย ไม่อดทน เลี้ยงยาก
(กลุ่มอีสาน และกลุ่มภาคกลาง) ส่วนควายขนสั้น ขนห่าง จะโตเร็ว เลี้ยง
ง่ายกว่า (สอดคล้องกันทุกภาค)
6) หนัง ควายงามต้องหนังหนา หนังเป็นมัน
(หนังจันทน์) ไม่แห้ง ไม่ตึงมาก จะช่วยขยับไล่แมลงได้ (จันทน์ คือลูก
ของต้นจันทน์ ซึ่งมีผิวลักษณะหนาเป็นมัน) หนังจะไม่แห้งเป็นขุย แตก
ต่างกับหนังปลาเค้า (ปลาเค้า สำเนียงอีสาน ปลาค่าว) คือควายที่มี
ลักษณะหนังบาง หนังจะแห้งเป็นขุยง่าย จึงไม่เป็นที่นิยม(สอดคล้องกัน
ทุกภาค)
จันทน์หรือจันทน์เทศ
1.3.2 ส่วนใบหน้า หัว และคอ
1) หน้า ควายงามต้อง
หน้ายาวปานกลาง กลมกลืนกับกรามที่ดู
แข็งแรง หนังหน้าต้องบางเห็นเส้นเลือดชัด
หน้าผากกว้างปานกลาง หน้าต้องไม่โหนก
(โด่ง)มาก ถ้าหน้าโหนก กะโหลกหัวโตหนา(หัว
หม้อทอง)นูนมาก ยิ่งถ้ามีขนสีดำ เส้นใหญ่หนา
และดกน่าจะมีเลือดควายมูร่าห์ (ควายแขก)
ผสมค่อนข้างจะแน่นอน
➢ ควายหน้าโหนก กะโหลกหัวโตหนา(หัวหม้อทอง) เป็นควายไว้ใจยาก ดื้อรั้น(ประเทือง,
2553)
➢ ควายหน้าสั้น ไม่สวย ต้องหน้ายาวเรียกว่าหน้าส่วยบายศรี(หน้าคม แหลม) หมายถึง
มีลักษณะเหมือนพานบายศรีซึ่งจะยาวรีขึ้นข้างบน(สิงห์, 2553)
➢ “ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูหน้า(แม่)” หน้าตาต้องดูดีก่อน ดึงดูดสายตา(คำ, 2553)
➢ “ควายงามเหมือนผู้หญิงสวย” ต้องดูที่หน้าตาก่อนเป็นลำดับแรก(เทพชาย, 2553)
ภูมิปัญญา 30 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา