Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            ของแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ ควายที่เลี้ยงใน
            พื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ  มักมีโครงสร้างที่ใหญ่
            ผิวหนังและขนเป็นมัน ดีกว่าควายที่เลี้ยง

            บนที่สูงหรือแห้งแล้งขาดน้ำ  ยกตัวอย่าง
            เช่น  ควายในลุ่มน้ำสะแกกรัง  จังหวัด
            อุทัยธานี ซึ่งเป็นแหล่งควายดีของประเทศ
            ควายลุ่มน้ำสงคราม จังหวัดนครพนม และ

            ควายพื้นที่ลุ่มน้ำชี ที่ชาวบ้านเรียก “ควาย
            ทาม”  ในแถบจังหวัดที่มีแม่น้ำชีไหลผ่าน
            ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งน้ำใสสะอาด เนื่องจากมีน้ำหลากไหล
            ถ่ายเททุกปี


                   ลักษณะทั่วไปของควายไทย
                   โครงสร้างใหญ่ ดูแข็งแรง มีกีบเท้าใหญ่ เคลื่อนไหวนุ่มนวล เจริญเติบโตค่อนข้างช้า รูปร่างดี
            ส่วนหัวมีเขากางยาว ปลายโค้งงอไปด้านหลัง หน้าผากเรียบ หน้าสั้น คอยาว ตัวผู้มีหนอก(Wither)

            ที่เหนือหัวไหล่ เรียกว่าขึ้นเปลี่ยว คือ ร่างกายส่วนปั้นหน้าเจริญเต็มที่ ตัวผู้ขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ไม่ค่อย
            ทนความร้อน จะแสดงอาการทุรนทุรายเมื่อไม่ได้ลงน้ำ
                   สี  ควายไทย ส่วนใหญ่มีสีเทาเข้ม ถึงเทาดำ และมีควายเผือกบ้างเล็กน้อย สีของควายเป็นสี
            ผสมของผิวหนังและสีขน แต่ควายมีขนน้อย สีที่แสดงออกจึงเป็นสีผิวหนังเป็นส่วนใหญ่ ควายมีขนเพียง

            25-40 เส้นต่อผิวหนังหนึ่งตารางนิ้วลูกควายเกิดใหม่จะมีสีเทา ขนค่อนข้างดกและยาวมีสีน้ำตาลแกม
            เทา
                   ผิวหนัง จะเปลี่ยนเป็นสีดำภายใน 1-2 สัปดาห์(ประสบ, 2527) ลักษณะเด่นของควายไทยจะมี
            ขนสีขาวรูปตัววีเหมือนบั้งทหารนายสิบ (V Chevron) ขวางระหว่างส่วนคอกับส่วนอก เท้าทั้ง 4 ด่าง

            (สีเทาขาว) ตรงหัวตาจะมีคล้ายจุดสีขาว บริเวณแก้มจะมีจุดขนสีขาว ที่ตำแหน่งตรงกันทั้งสองข้าง

























                                        ภูมิปัญญา   20     การคัดเลือกควายไทย                                                                   ภูมิปัญญา
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35