Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3) ควายคือโรงงานปุ๋ยเคลื่อนที่
ควายเป็นเครื่องตัดหญ้ามีชีวิต มีส่วนช่วยให้ระบบ
เกษตรของไทยมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้ฟาง หญ้า และ
เศษพืชอื่น ๆ ที่มีอยู่ในไร่นาให้เกิดประโยชน์ เป็นผลให้
เกิดระบบเกษตรผสมผสาน มูลควายมีความสำคัญมาก
ในการฟื้นฟูความอุดมสมบรูณ์ของดิน เนื่องจากที่นาได้ใช้
ปุ๋ยเคมีติดต่อกันหลายปี จะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพแข็ง
เป็นดินดาน แต่ถ้าใส่ปุ๋ยคอกจากมูลควายจะช่วยเพิ่ม
อินทรียวัตถุให้กับดิน ทำให้โครงสร้างของดินร่วนซุย ขี้ควาย ทองคำดำของเกษตรกร
เพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช และให้ธาตุอาหารพืชใน
ลักษณะต่อเนื่อง และยังทำให้เกิดการฟื้นฟูสิ่งมีชีวิต
ในดิน เช่น จุลินทรีย์ ไส้เดือน แมลงต่างๆ ซึ่งส่วน
ประกอบของมูลควาย จะมีธาตุไนโตรเจน(N) ประมาณ
1.91% ธาตุฟอสฟอรัส(P) ประมาณ 0.56% และธาตุ
โปแตสเซียม(K) ประมาณ 1.4% ของน้ำหนักแห้ง ซึ่ง
ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอาหารที่กินด้วย
สำหรับปริมาณมูลควายที่ผลิตได้ในแต่ละปี คำนวณได้จากการถ่ายมูลของควายที่พบว่าจะถ่าย
มูลวันละ 6 ครั้ง (กลางคืนและกลางวัน 3 ครั้ง เท่ากัน) โดยถ่ายมูลเป็นน้ำหนักสด เฉลี่ย 0.9
เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อครั้ง หรือวันละ 5.4 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว สมมุติควายแม่พันธุ์น้ำหนัก
350 กิโลกรัม จะถ่ายมูลปีละ 6,898.50 กิโลกรัม คิดเป็นน้ำหนักแห้งประมาณปีละ 1.8- 2 ตัน (จินตนา,
2552) การปล่อยควายเลี้ยงในพื้นที่นาข้าว หรือทำเลต่างๆ ควายจะถ่ายมูลเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับ
ผืนดินไปแล้วครึ่งหนึ่ง และที่เหลือจะถูกเก็บสะสมในคอก ซึ่งชาวนาจะนำไปใส่นาปีละครั้งก่อนไถนา
ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ถ้าเกษตรกรใช้ปุ๋ยมูลควายทดแทนปุ๋ยเคมีได้ทั้งหมด หรือเพียงบาง
ส่วน ก็จะช่วยให้ประเทศชาติลดการสูญเสียเงินตราซื้อปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศมีมูลค่าหลายพันล้านบาท
ต่อปี
4) เนื้อคุณภาพ เนื้อควายเป็นอาหารโปรตีนที่มีคุณค่า มีโปรตีนประมาณ 19-21.6
เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 8 เปอร์เซ็นต์ ควายมีเปอร์เซ็นต์ซาก 43-54 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่าโคที่มีอายุเท่ากัน
ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมี หัว หนัง เท้า และเครื่องใน หนักกว่าโค นอกจากนี้เนื้อควายมีสี
เข้มกว่าเนื้อวัว ไขมันแทรก(มีสีขาว)ในกล้ามเนื้อต่ำกว่าเนื้อโค 3-5 เปอร์เซ็นต์(จินตนา, 2552) จึงมีผลดี
ต่อสุขภาพมากกว่า ส่วนมากผู้บริโภคจะรังเกียจเนื้อควายเนื่องจากที่ขายในท้องตลาด เป็นควายแก่ที่
ปลดจากงาน ทำให้เนื้อมีสีคล้ำและเหนียว แต่ถ้าเนื้อโค และเนื้อควายอายุเท่ากัน ความนุ่มจะไม่แตก
ต่างกัน เนื้อควายจึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นเนื้อคุณภาพสูง รวมทั้งพัฒนาเป็นเนื้อควายอินทรีย์ใน
อนาคตสำหรับผู้ที่ห่วงใยสุขภาพ
ภูมิปัญญา 12 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา