Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.1 ควาย ในการป้องกันชาติ ควาย...ในฐานะวีรชน คนไทยคงไม่มีใครลืมวีรกรรมที่บรรพบุรุษ
ชาวบ้านบางระจัน เมื่อครั้งรวบรวมกำลังลุกขึ้นต่อสู้กับกองทัพพม่า โดยมีพระอาจารย์ธรรมโชติ (วัดเขา
นางบวช) เป็นศูนย์รวมจิตใจ มีหัวหน้าคือ
ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์
หนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ ซึ่งพม่ายก
ทัพมาตี 7 ครั้ง ก็เอาชนะไม่ได้ แต่ในที่สุดก็
ต้านทานไม่ไหวและถูกตีแตก ในวันจันทร์ เดือน
8 แรม 2 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาต่อสู้
นานถึง 5 เดือน ด้วยวีรกรรมนี้รัฐบาล จึง
กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นวัน “วีรชน
ค่ายบางระจัน” ซึ่งควรนับรวมควาย ที่เป็น
พาหนะสำคัญซึ่งใช้ต่อสู้กับกองทัพพม่า ใน
สงครามนัดประวัติศาสตร์นี้ด้วย (http://
www.bandhit.com/, 2553)
2.2 ควายในระบบการขนส่ง ก่อนที่จะมี
การผลิตยวดยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง คนได้
อาศัยสัตว์พาหนะ ซึ่งมีคำพูดที่คล้องจอง ก็คือ
“ช้าง ม้า วัว ควาย” ควาย สามารถลากเกวียน
ลากล้อ บรรทุกคน บรรทุกสิ่งของ และผลผลิต
การเกษตรต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มได้ดีกว่าวัว
และได้น้ำหนักมาก โดยควาย ที่มีน้ำหนัก 400-
500 กิโลกรัม จะสามารถลากน้ำหนัก 50-80
กิโลกรัม ด้วยความเร็ว 0.8-0.9 เมตรต่อวินาที
กำลังที่เกิดขึ้น (power development) 55
กิโลกรัมต่อวินาที หรือ 0.75 แรงม้า (ประสบ,
2527)
ภูมิปัญญา 8 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา