Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.3.2 ควายกับระบบเศรษฐกิจ
1) ควายเป็นทรัพย์สินมีชีวิต ควายมีความสำคัญในฐานะที่เป็นหลักประกันความ
มั่นคงของครอบครัวชาวชนบทมาช้านาน คนในชนบทเลี้ยงควาย โดยมีวัตถุประสงค์ในการออมเป็นหลัก
ถ้ามีความจำเป็นจริงๆ จึงจะขาย โดยจะไม่พยายามขายแม่พันธุ์ จะแบ่งขายเฉพาะลูกควาย โดยเฉพาะ
เพศผู้ เพื่อนำเงินมาใช้จ่าย เช่น งานบวช งานแต่งงาน ค่าการศึกษาลูก เป็นต้น
2) ควายเป็นแรงงานราคาถูก ควายคือแรงงานมีชีวิต ที่ฉลาดเฉลียว ควายไทย
สามารถ ฝึกใช้งานได้หลายประเภท โดยฝึกครั้งเดียวเมื่ออายุ 2-3 ปี โดยไม่ต้องมีการทบทวนบทเรียน
อีก และสามารถใช้งานได้ยาวนานจนมีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปจึงจะปลดงาน (จรัญ, 2527) ควายมีรูป
ร่างลักษณะเหมาะกับการใช้เป็นแรงงานในพื้นที่เป็นโคลนตมได้ดี เพราะมีกีบใหญ่และแข็งแรงเดินได้ดี
ในโคลน และมีข้อกีบและข้อขาที่เคลื่อนไหวคล่องตัว ทำให้เดินได้ดีในที่นาขรุขระ ควายเป็นแรงงาน
สำคัญในการเตรียมดิน ไถนา คราดนา การนวดข้าว ลากเกวียน ไถไร่ หรือไถวัชพืชระหว่างร่อง
มันสำปะหลังหรือร่องอ้อยฯ ควายสามารถทำงานได้วันละ 4-6 ชั่วโมง ในสอง ช่วงเวลา เช้าและช่วงบ่าย
ที่อากาศไม่ร้อนมาก ควาย 1 ตัว สามารถไถนาได้ประมาณ 0.5-1 ไร่ต่อวัน ขึ้นอยู่กับขนาดและความ
คล่องแคล่วของทั้งควายและคนบังคับไถรวมทั้งสภาพอากาศด้วย ดังนั้น พื้นที่นาไม่เกิน 15 ไร่ ควาย
เพียงตัวเดียวก็สามารถทำงานได้เสร็จ ซึ่งการใช้ควายแทนรถไถนาจะสามารถลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ได้ประมาณ 3.3 ลิตรต่อไร่ คิดเป็นเงิน ประมาณ 99- 132 บาทต่อไร่ (ราคาน้ำมันดีเซลปัจจุบัน
ประมาณ 30 บาทต่อลิตร - ราคาที่เคยสูงสุดที่ลิตรละ 40 บาท) ซึ่งถ้าเกษตรกรจ้างรถไถนาเพื่อเตรียม
ดินทุกขั้นตอน จะช่วยลดรายจ่ายในการเตรียมดินถึงไร่ละประมาณ 400 บาท หรือประมาณ 6,000
บาท ในพื้นที่ 15 ไร่นี้ (ล้วน, 2553)
ภูมิปัญญา 10 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา