Page 16 -
P. 16

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                                              บทที่ 2



                                   ควายกับสังคมไทย






            1. ควายกับภาษา

                   ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ระบุคำที่มีความหมาย หรือคำแปลว่า ควาย

            เหมือนกัน แต่มีที่ใช้แตกต่างกันหลายคำ ได้แก่
                   กระบือ  เป็นคำนาม (น.) แปลว่า ควาย  ภาษามลายู ประเทศมาเลเซีย ใช้ว่า เกรเบา(เกร-
            เบา) ส่วนเขมรเรียก กรบี(กระ-บี)
                   ควาย  คำนาม (น.) แปลว่า ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bubalus bubalis ในวงศ์ Bovidae เป็น
            สัตว์กีบคู่ รูปร่างใหญ่ สีดำหรือสีเทา เขาโค้งยาว ที่ใต้คางและหน้าอกมีขนขาวเป็นรูปง่าม ส่วนภาษา

            ปาก (ปาก) โดยปริยาย มักหมายความว่า คนโง่ คนเซ่อ หรือคนตัวใหญ่แต่ไม่ฉลาด
                   กาสร เป็นภาษา สันสกฤต(ส.) ใช้เป็นคำนาม(น.) แปลว่า ควาย แต่มีใช้เฉพาะในหนังสือ(แบบ)
            ไม่ใช่คำพูดทั่วไป

                   มหิงส์ คำนาม(น.) แปลว่าควาย
                   มหิษ เป็นคำสันสกฤต(ส.) แปลว่าควาย
                   มหิส หรือ มหีส หรือ มหึส เป็นคำบาลี(ป.) แปลว่าควาย
                   คำอื่นๆ ที่เกี่ยวกับควาย
                   มาหิษ เป็นคำสันสกฤต(ส.) ส่วนคำบาลี(ป.) ใช้ว่า มาหิส  เป็นคำคุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์(ว.)

            ซึ่งแปลว่า เกี่ยวกับควาย หรือเนื่องจากควาย
                   เห็นได้ว่าคำที่มีความหมายว่า ควาย หรือความหมายที่เกี่ยวข้องกับควาย มีหลายคำ ทั้งคำไทย
            และบาลี-สันสกฤต แต่ที่เห็นใช้บ่อยที่สุดก็คือ คำว่า “ควาย” หรือ “กระบือ” ซึ่งเรื่องนี้ คนไทยทุกคนได้

            เรียนพยัญชนะไทย ตั้งแต่ ก..ไก่ ถึง ฮ..นกฮูก ด้วยการฟัง แล้วฝึกพูด ฝึกเขียน อ่านและท่องจำ
            นักปราชญ์ท่านได้คิดวิธีเพื่อช่วยในการจดจำอย่างชาญฉลาด โดยการประพันธ์คำอ่านให้คล้องจอง
            ด้วยการนำพืช นำสัตว์ บุคคล รวมถึงวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัวมาประกอบ เพื่อให้สามารถจำง่าย
            ขึ้นใจ เริ่มจาก ก..เอ๋ย กอ ไก่  ข..ไข่ในเล้า ฃ..ขวด ของเรา ค..ควาย เข้านา เรื่อยไปถึง ฮ. นก ฮูก ตาโต
            ปัจจุบันพยัญชนะหลายตัวยังคงมีอยู่ ในขณะที่บางตัวไม่นิยมใช้ในการเขียน และหายไปจากแป้นพิมพ์

            ของเครื่องพิมพ์แล้ว ยกตัวอย่าง เช่น ฃ..ฃวด ของเรา และ ฅ..ฅน ขึงขัง เป็นต้น ซึ่งไม่แน่ว่าอนาคต
            พยัญชนะ ค..ควาย เข้านา  อาจหายไปอีกตัว เพราะควายและคนเลี้ยงควายลดลงเรื่อยๆ คนทั่วไปก็ให้
            ความสำคัญกับควายลดลงเช่นกัน เด็กเยาวชนในชุมชนเมืองไม่รู้จักควาย หรือแม้แต่แถบชนบทบาง





                                        ภูมิปัญญา    6     การคัดเลือกควายไทย                                                                   ภูมิปัญญา
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21