Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หมู่บ้าน เด็กก็ไม่เคยเห็นควาย เนื่องจากได้หมดไปจากหมู่บ้านก่อนที่เขาจะลืมตามาดูโลกเมื่อหลาย
ปีก่อนด้วยซ้ำ ค..ควาย เข้านา จึงอาจกลายเป็น ค..คอมพิวเตอร์ ตามคำกล่าวของ ศ.ดร.จรัญ จันทร
ลักขณา แทน แปลกแต่จริงสำหรับคนไทย ก็คือ ตอนเป็นเด็กถูกสอนให้ท่องและจดจำ ค..ควาย เข้านา
แต่พอโตขึ้นมาหน่อยกลับถูกสอนว่าเวลาเขียนคำว่าควาย ให้ใช้ กระบือ แทน นัยว่าเป็นคำสุภาพกว่า
อย่างไรก็ตาม จากศิลาจารึกวัดบางสนุก (จ.แพร่) หลักที่ 107 (พ.ศ. 1882) ..เจ้าเมืองตรอกสลอบ ชวน
ลูกขุนมูลนายไพร่ไทย พิมพ์รูปพระด้วยเหียกดินเพื่อเป็นพุทธบูชา ...ปลูกศาลาด้วยแล จึงแต่งหากระยา
ทาน...คนครอกหนึ่งให้ดูพระ ช้างตัวหนึ่ง ม้าตัวหนึ่ง ควายตัวหนึ่ง และในเรื่องเดียวกันนี้ ยังปรากฏใน
ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร หลักที่ 38 (พุทธศตวรรษที่ 19-20) กล่าวว่า...มาตราหนึ่งโสด ในบ้าน
ของคนกล่าวนี้แล และมีโจรลักวัวมอ ปอฟั่น...มาตราหนึ่งโสด ผิผู้ไดจักมีการกระทำ และจะฆ่าวัวฆ่า
ควาย ไม่ให้เอาวัวควายนั้น อันจักฆ่ามัน ชี้ให้กันเห็นทั้งหลาย(เรืองศักดิ์, 2549) จึงเชื่อได้ว่าภาษาพูด
และภาษาเขียนดั้งเดิมขอบรรพบุรุษที่ใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้คือ “ควาย” สอดคล้องกับพจนานุกรมฯ ไม่
ว่าจะเป็นคำว่า กาสร มหิงส์ หรือ กระบือ ก็แปลว่า ควาย จึงขอเชิญชวนคนรักควายทั้งหลาย หันมาใช้
คำไทยแท้ดั้งเดิม ในการพูด และเขียนว่า “ควาย” อย่างเต็มปากเต็มคำ ไม่ต้องอายใคร และไม่ต้องกลัว
ใครจะหัวร่อเยาะ ส่วนคำว่า กระบือ นั้น ศ.ดร.จรัญ จันทลักขณา(2527) กล่าวว่า น่าจะเลียนมาจาก
ภาษาเขมร ซึ่งออกเสียงว่า กรบี (กระ-บี) และคนพื้นเมืองแถบจังหวัดสุรินทร์ส่วนใหญ่ ก็ออกเสียงว่า
กรไบ(กระ-ไบ) อย่างไรก็ตามหากเห็นว่า ควาย เป็นคำไม่สุภาพ หรือด้วยเกรงจะเกิดอุบัติเหตุทางภาษา
จากการสะกดคำตกสระอา(-า) ไป หรืออ่านคำควบกล้ำไม่ได้ ก็ให้ใช้คำว่า “ควายไทย” แทน ซึ่งจะ
เหมาะสม แสดงถึงความเป็นชาติ และเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และใคร่ขอร้องว่าไม่ควรจะ
ดูถูกควาย ว่าเป็นสัตว์โง่ หรือ เซ่อ ตามภาษาพูด (ปาก) ที่กล่าวถึงข้างต้น เพราะควายไม่ได้เป็นอย่างที่
คนทั่วไปเข้าใจ แต่ควายเป็นสัตว์ฉลาด สามารถฝึกสอนได้ มีความซื่อสัตย์ และมีบุญคุณต่อคนไทยมา
โดยตลอด ซึ่งควรได้รับการยกย่องและกล่าวถึงในแง่มุมที่ดีกว่านี้ด้วยซ้ำไป
2. คุณค่าควายต่อคนไทย
“ควาย” เป็นสัตว์ที่มีความผูกพันกับมนุษย์มาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ จากหลักฐานภาพเขียนก่อน
ยุคประวัติศาสตร์ของมนุษย์โบราณ ปรากฏภาพควาย ภาพวัว ภาพปลา สัตว์ป่าบางชนิด ตามถ้ำต่างๆ
หลายแห่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าควายเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เดิมนั้นควาย
คงเป็นเพียงสัตว์ป่า แต่โดยสัญชาติญาณที่ไม่ดุร้ายเกินไป ทำให้คนสามารถนำมาเลี้ยง ฝึกฝน จนเชื่อง
และนำมาใช้แรงงานได้ ซึ่งคนไทยได้ใช้แรงงานจากควาย มาแต่ยุคสร้างอาณาจักร เพราะพื้นที่ในการ
ตั้งอาณาจักรล้วนอยู่ในเขตราบลุ่ม อาชีพที่เหมาะสม คือการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา ทั้งสมัยสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้แล้ว “ควาย” ยังมีบทบาทสำคัญ ด้านการคมนาคม
การขนส่ง รวมถึงใช้เป็นพาหนะในการทำสงครามป้องกันบ้านเมือง จึงอาจพูดได้ว่า “ควาย คือชีวิตของ
คนไทย” หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง “ควาย คือ สมบัติชาติไทย หรือ “มรดกไทย”
การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา 7 การคัดเลือกควายไทย