Page 12 -
P. 12
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
งานกระบือ(ควาย)และ โคเนื้อแห่งชาติ จัดโดยกรมปศุสัตว์ ประมาณต้นเดือนมีนาคม ของทุกปี เป็นต้น
ซึ่งจากการที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดประกวดควายทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศมาโดยตลอด
ได้ประจักษ์โดยสายตาว่าควายของเกษตรกรที่นำเข้ามาประกวดนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับควายของทาง
ราชการ ไม่ว่าจะเป็นของกรมปศุสัตว์ หรือหน่วยงานอื่นๆ ในช่วงอายุที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่จะมีขนาด
โครงสร้างใหญ่กว่าควายของทางราชการมาก ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลน้ำหนักควายที่เข้าประกวดในงาน
กระบือแห่งชาติ ปี 2548 (ต่อมาภายหลังได้มีการจัดงานโคเนื้อร่วมกัน จึงใช้ชื่อว่างานกระบือและโคเนื้อ
แห่งชาติ) พบว่าน้ำหนักควายรุ่นเพศผู้ อายุ 2-3 ปี พ่อพันธุ์อายุ 4-6 ปี และแม่พันธุ์อายุ 3-5 ปี
มีน้ำหนักเฉลี่ย 621 ,760 และ 526 กิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าควายของศูนย์วิจัยและ
บำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์ที่มีอายุอยู่ในช่วงเดียวกัน (จินตนา, 2548)
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ถือว่านับเป็นความโชคดีของประเทศไทย ที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย
ส่วนหนึ่ง ยังเห็นความสำคัญและได้สืบทอดและมีองค์ความรู้หรือเรียกว่าภูมิปัญญาในการคัดเลือกควาย
ด้วยการดูลักษณะการแสดงออกภายนอก(Phenotype)ซึ่งเป็นลักษณะเชิงคุณภาพ (Qualitative)
มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์ความรู้ และทักษะนี้ย่อมเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ และผ่านกระบวนการ
เลือกสรร เรียนรู้ ปรุงแต่งและถ่ายทอดสืบต่อกันมายาวนาน จึงนับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ
ภูมิปัญญาไทยตามคำจำกัดความของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ และถือว่าเป็นภูมิปัญญา
ท้องถิ่นแขนงหนึ่งที่มีคุณค่ายิ่ง ทำให้ประเทศไทยเรายังสามารถอนุรักษ์ควายที่มีโครงสร้างใหญ่ น้ำหนัก
มาก พร้อมทั้งมีความงามตามตำราหรือตามอุดมทัศนีย์ไว้ได้ ถึงแม้จะมีจำนวนน้อยกว่าในอดีตมากก็ตาม
จึงถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่จะต้องอนุรักษ์ ไม่น้อยกว่าภูมิปัญญาไทย ที่เกี่ยวข้องกับควายด้านอื่นๆ เช่น
ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการบำรุงหรือรักษาควาย ภูมิปัญญาการฝึกควายเพื่อใช้งานตาม
วัตถุประสงค์ต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามภูมิปัญญาด้านนี้ส่วนมากมักเป็นความรู้เฉพาะตัวบุคคล
ส่วนใหญ่จะถูกถ่ายทอดผ่านบุตร หลานหรือเครือญาติใกล้ชิด ที่สนใจรับการถ่ายทอดเท่านั้น โดยรูปแบบ
หรือวิธีการต่างๆ เช่น การบอกเล่า การทำให้ดู หรือการปฏิบัติจริง ผู้เรียนจะใช้วิธีการจดจำ และฝึก
ทักษะด้วยการลองผิดลองถูก ส่วนมากจึงมักไม่มีการบันทึกองค์ความรู้นี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อ
เจ้าของภูมิปัญญาเสียชีวิตลง องค์ความรู้เหล่านี้ก็มักจะสูญหายไปกับเจ้าของโดยปริยาย ยกตัวอย่าง
เช่น นายโสม สีแดน เกษตรกรผู้เลี้ยงควายบ้านโนนสว่าง-โนนอุดม ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัด
ขอนแก่น ซึ่งเป็นทั้งผู้เลี้ยงควายและทำหน้าที่เป็นนายฮ้อย(พ่อค้าควาย)ประจำหมู่บ้านอนุรักษ์และ
พัฒนาควายไทยแห่งนี้ นับว่าเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ดีมากในการคัดเลือกและดูลักษณะควายงามตามตำรา
การดูขวัญ และลักษณะที่เป็นกาลีหรือกาลกิณี (ลักษณะที่เป็นอัปมงคล หรือเป็นลักษณะต้องห้าม คือ
ห้ามเลี้ยง ห้ามซื้อ ห้ามขาย) ของควาย กรมปศุสัตว์เคยเชิญให้ท่านร่วมเป็นกรรมการตัดสินการ
ประกวดควาย ทั้งในงานกระบือแห่งชาติ เมื่อครั้งจัดที่จังหวัดสุรินทร์ และการประกวดควายในงานวัน
เกษตรภาคอีสานหลายครั้ง ซึ่งต่อมาเมื่อ นายโสม สีแดน เสียชีวิต ปรากฏว่าองค์ความรู้หรือภูมิปัญญา
การคัดเลือกควายได้ตายไปพร้อมๆ กัน เพราะลูกหลานไม่ได้สนใจที่จะศึกษาเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่
น่าเสียดายอย่างยิ่ง เป็นต้น
ดังนั้น องค์ความรู้หรือภูมิปัญญาการคัดเลือกควายไทย จึงถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่ามาก
ภูมิปัญญา 2 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา