Page 11 -
P. 11

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                                              บทที่ 1


                                                บทนำ




            1. เหตุผลและความจำเป็นในการศึกษา

                   กรมปศุสัตว์เริ่มดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ควาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา
            ซึ่งนับเป็นปีแห่งการริเริ่มงานวิจัยและพัฒนาควายอย่างจริงจัง  และต่อมาเกิดโครงการร่วมวิจัยและ

            พัฒนาควายแห่งชาติขึ้น ในปี พ.ศ.2517 (จินตนา, 2548) ซึ่งในช่วงเวลาใกล้เคียงกันคือในปี พ.ศ. 2515
            จำนวนควายในประเทศมี 5.361 ล้านตัว ในขณะที่คนไทยมี 38.59 ล้านคน(จรัญ, 2526) เมื่อนำมาคิด
            เป็นอัตราส่วนจำนวนควายต่อคนไทย พบว่ามีอัตราส่วน 0.14  ตัวต่อคน  สำหรับงานด้านการวิจัยและ
            พัฒนาเกี่ยวกับควายนั้น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ส่วนใหญ่การวิจัยจะเน้นคัดเลือกและ
            ปรับปรุงพันธุ์ เชิงปริมาณ(Quantitative) ที่เน้นลักษณะเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น อัตราการเจริญเติบโต

            การเพิ่มน้ำหนัก การเพิ่มขนาด  และประสิทธิภาพการแลกเนื้อ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากปีที่เริ่มต้น
            โครงการวิจัยควายอย่างจริงจัง นับถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2553 รวมแล้วเป็นเวลาถึง 39 ปี มีผลงานวิจัย
            และวิชาการเกี่ยวกับควายด้านต่างๆ จำนวนมาก แต่จำนวนควายในประเทศกลับมีการเปลี่ยนแปลง

            ในทิศทางตรงกันข้าม คือมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ โดยในปี พ.ศ. 2552 เหลือเพียง 1.39 ล้านตัว (กรมปศุสัตว์,
            2543)  ส่วนจำนวนคนไทยในปีเดียวกัน จากประกาศของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่
            31 ธันวาคม 2552 เพิ่มเป็น 63.52 ล้านคน (กรมการปกครอง, 2553)  คิดเป็นอัตราส่วนควายต่อคน
            ไทยลดลงเป็น 0.02 ตัวต่อคน ซึ่งนับว่าเป็นอัตราส่วนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา  และยังมี
            แนวโน้มที่อัตราส่วนนี้จะลดต่ำลงไปอีกในอนาคต

                   อย่างไรก็ตาม ปัญหาของควายไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะปริมาณที่ลดลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการที่
            ควายส่วนใหญ่ในประเทศมีโครงสร้างเล็กลง ส่งผลให้มีน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ต่ำลงกว่าในอดีตด้วย ซึ่งเดิม
            ควายไทยนั้นเคยได้ชื่อว่าเป็นควายปลักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือเคยพบว่ามีน้ำหนักถึงหนึ่งตัน เรียก

            ว่าควายตัน นอกจากนี้ ควายที่มีลักษณะดีที่เรียกว่า “ควายงามตามตำรา” ตามบทกลอนที่ว่า “ควาย
            สยามงามระบือคนลือเลื่อง มีความเชื่องเลี้ยงง่ายแน่ไม่แปรผัน ท่ายืนเยื้องเหยาะเหมาะสมกัน คอสั้น
            ตันหน้ายก อกท้องกลมฯ” ก็นับวันจะมีน้อยและหายาก ส่วนคนเลี้ยงควายที่มีความรู้ความเข้าใจและให้
            ความสำคัญกับการอนุรักษ์ควายที่มีลักษณะตามตำรานั้น ก็เหลืออยู่เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น และเป็น
            เกษตรกรรายย่อยเกือบทั้งหมด โดยกระจายอยู่ตามชนบทในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ คนเลี้ยงควายงาม

            และควายงามที่เข้าตามตำรานั้น  จะพบเห็นก็ต่อเมื่อมีงานประกวดสัตว์ในเวทีสำคัญๆ  ที่จัดให้มีการ
            ประกวดควายงาม เช่น งานประจำปีของจังหวัดต่างๆ ที่จัดให้มีการประกวดสัตว์ หรืองานระดับชาติ
            เช่น งานประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ซึ่งจะจัดเป็นเทศกาลประจำปีในช่วงวันออกพรรษาของทุกๆ ปี

            งานวันเกษตรภาคอีสาน  ที่จังหวัดขอนแก่น  จัดช่วงปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์  และ


                                        ภูมิปัญญา    1     การคัดเลือกควายไทย
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16