Page 13 -
P. 13
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไม่แพ้ศาสตร์การดูโหงวเฮ้งหรือฮวงจุ้ยของคนในสมัยปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากใช้กระบวนการรวบรวม
วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ก็จะได้องค์ความรู้สำคัญขึ้นมาอีกแขนงหนึ่ง และอาจนำ
เอาองค์ความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์เข้ากับวิทยาการด้านการปรับปรุงพันธุ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ช่วยให้การ
กำหนดทิศทางและนโยบายในการคัดเลือกพันธุ์ควายมีความถูกต้อง สอดคล้องกับบริบททางสังคม
วัฒนธรรม และความเชื่อของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ควายมีความ
เหมาะสม และตรงกับความต้องการของเกษตรกรผู้ใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งอาจมีข้อเสนอแนะ
หรือแนวทางใหม่ในการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงควายของประเทศ นอกจากนี้ การรวบรวมและ
บันทึกองค์ความรู้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายไว้ด้วยความเคารพ ก็จะเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งคนรุ่นหลัง
สามารถใช้ในการอ้างอิงสืบค้น เพื่อการศึกษา พัฒนา และสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ต่อไป
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2.1 เพื่อสืบค้น รวบรวมและบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการคัดเลือกควายตาม
วัตถุประสงค์ต่างๆ จากเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับควายไทย เป็นการ
อนุรักษ์และเก็บเป็นฐานข้อมูลอ้างอิง ที่จะช่วยให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง ไม่เกิดการสูญหาย
2.2 เพื่อหาแนวทางหรือข้อเสนอแนะในการประยุกต์องค์ความรู้การคัดเลือกควายโดย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับการคัดเลือกตามหลักปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ซึ่งอาจสนับสนุนให้การปรับปรุงและคัด
เลือกพันธุ์ควาย มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายมากที่สุด
3. วิธีการศึกษา
3.1 กรอบแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา (Conceptual framework)
การดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้ เรื่อง “การคัดเลือกควายด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น”
เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลเชิงนามธรรมที่เป็นพฤติกรรม ความเชื่อ ค่านิยมของคน จึงใช้กระบวนการ
วิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการ โดยมีแนวคิดว่าองค์ความรู้
ด้านนี้มีอยู่ในตัวเกษตรกรเป็นความรู้เฉพาะตัว(Tacit knowledge) ส่วนหนึ่งอยู่ในวิถีชีวิตเกษตรกร
ผู้เลี้ยงควาย และมีอยู่แล้วเป็นเอกสารทั้งข้อมูลที่เป็นปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งสามารถสืบค้นได้
หลังจากนั้น จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยและนักวิชาการด้านพัฒนา
และปรับปรุงพันธุ์ควาย ได้นำหลักการคัดเลือกโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการเข้ากับหลักวิชาการ
ปรับปรุงพันธุ์ เพื่อสร้างประโยชน์ทางมูลค่าและคุณค่าให้กับควาย และเกษตรกรผู้เลี้ยงควายต่อไป
ดังแผนภาพที่ 1
การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา 3 การคัดเลือกควายไทย