Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การคัดเลือกตามหลักปรับปรุงพันธุ์
ควายไทย - เชิงปริมาณ
การคัดเลือกตามภูมิปัญญา
- เชิงคุณภาพ
- เชิงปริมาณ
แนวทางบูรณาการ เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา
แผนภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการศึกษา
3.2 กระบวนการและขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.2.1 การวางแผน ประกอบด้วยการกำหนดตัวอย่างและกลุ่มตัวอย่าง ที่จะทำการศึกษา
เพื่อให้เหมาะสมกับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดแผนในการปฏิบัติงาน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนรายงานผลการดำเนินการ โดยจัดทำเป็นตารางกำหนดแผนการปฏิบัติ
งานที่ชัดเจน
3.2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญา
เกี่ยวกับการคัดเลือกควายจากหลายๆ แหล่ง ได้แก่
1) การสัมภาษณ์รายบุคคล ทำการสัมภาษณ์ ร่วมกับการสังเกต การบันทึกภาพ
เกษตรกรภูมิปัญญาที่เป็นผู้เลี้ยงควายทั่วไป ผู้เลี้ยงควายงามเพื่อประกวด ผู้เลี้ยงควายเพื่อใช้งาน ผู้เลี้ยง
ควายเพื่อการแสดง รวมถึงปราชญ์การคัดเลือกควายในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศที่เลิกเลี้ยงควายไปแล้ว
โดยกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถานี
วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์ เป็นผู้ช่วยดำเนินการ และผู้เขียนเป็นผู้ดำเนินการเอง
2) การสัมภาษณ์เกษตรกรเป็นรายกลุ่ม จากเวทีการแสดงวิถีชีวิตของกลุ่มอนุรักษ์
และพัฒนาควายไทย 4 ภาค ในงานกระบือและโคเนื้อแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 4-7 มีนาคม
พ.ศ. 2553 ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
3) การรวบรวมข้อมูลจากเวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง การคัดเลือกควายพันธุ์ดีโดย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในงานกระบือและโคเนื้อแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2553 ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553
ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
4) การสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ วารสาร รวมทั้งข้อมูลที่ได้
จากการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
3.3 การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล ทำการตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของ
ข้อมูล ทำการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบ และทำการวิเคราะห์ข้อมูล
ภูมิปัญญา 4 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา