Page 17 -
P. 17

ื
                                                                                ิ
                                                                    ิ
                                               ิ
                                                  ์
                                     ิ
              โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                        8




                       ลึกจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้ร่วมการปฏิบัติงานพร้อมทั้งบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผล
                       การปฏิบัติงาน และความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานทั้งที่สำเร็จหรือล้มเหลว เพื่อเป็น
                       แนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และสามารถเผยแพร่ศึกษาเรียนรู้ได้ (นิคม
                       สุวพงษ์, 2565, น. 49)

                                                                                                     ั
                                     ทั้งนี้การถอดบทเรียนมีความสำคัญหลายประการ อาทิ แก้ปัญหาการทำงาน พฒนา
                       แนวคิด หรือวิธีการทำงานใหม่ โดยมีฐานมาจากประสบการณ์เดิม ยกระดับแบบปฏิบัติที่ดี หรือเป็น
                       เลิศ สร้างมาตรฐานวิธีปฏิบัติ หลีกเลี่ยงความผิดพลาด หรือปัญหาที่เคยเกิดขึ้น สร้างความรู้ใหม่โดย
                       การต่อยอดจากความรู้เดิม เป็นต้น (ญาณิศา ไชยศรีหา, ม.ป.ป., น. 1) การถอดบทเรียนจึงเป็นทั้ง

                       แนวคิด และเครื่องมือเพื่อสร้างการเรียนรู้ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งของการจัดการความรู้ โดยเป็น
                       กระบวนการดึงความรู้จากการทำงานออกมาใช้เป็นทุนในการทำงานเพอยกระดับให้ดียิ่งขึ้น การถอด
                                                                                 ื่
                       บทเรียนเป็นการสรุปบทเรียนว่าที่ผ่านมาได้เรียนรู้อะไร (What) มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้างใน
                       ระดับบุคคล และระดับองค์กร องค์ความรู้ที่ได้รับจากการดำเนินงานมีอะไรบ้าง (Knowledge) สร้าง

                       โอกาสและเป็นเวทีสำหรับการใช้พลังปัญญา (Wisdom) และทุนทางสังคมวัฒนธรรมที่มีอยู่ (นิคม
                       สุวพงษ์, 2565, น. 52)
                                     2) วิธีการถอดบทเรียน วิธีการถอดบทเรียนมี 3 ช่วง ได้แก่ (1) การถอดบทเรียน

                       ก่อนการดำเนินการ เป็นการเรียนรู้ก่อนที่จะเกิดข้อผิดพลาด (2) การถอดบทเรียนระหว่างดำเนินการ
                       เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินงาน และ (3) การถอดบทเรียนหลังการดำเนินการ เป็นการ
                       เรียนรู้เพื่อการดำเนินการครั้งต่อไป (กริช อินทราทิพย์ และอรยา พูลทรัพย์, ม.ป.ป., น. 3 – 4)
                       สำหรับการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยขอเน้นไปที่การถอดบทเรียนหลังการดำเนินการ
                                     ทั้งนี้จากการทบทวนแบบจำลองในการถอดบทเรียนหลังการหลังปฏิบัติการ (After

                       Action Review:  AAR) ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการ เป็นการทบทวนหรือเป็น
                                   ื่
                       กระบวนการเพอวิเคราะห์ว่าเกิดเหตุอะไร สาเหตุของการเกิด และจะสามารถดำเนินการให้ดีกว่าเดิม
                       ได้อย่างไร โดยเอาบทเรียนจากความสำเร็จและความล้มเหลวของการทำงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาซึ่ง

                       การพัฒนาหรือการปรับปรุงการทำงาน เป็นรูปแบบของกลุ่มทำงานที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในการ
                       ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น อะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สาเหตุของการเกิด และสิ่งที่ได้เรียนรู้คืออะไร ดังนั้น
                       คำถามหลักของ AAR คือ สิ่งที่คาดว่าจะได้จากการทำงาน และสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สิ่งที่แตกต่าง ทำไมจึง
                       แตกต่าง สิ่งที่ต้องแก้ไข รายละเอียดการปรับปรุง (กริช อินทราทิพย์ และอรยา พูลทรัพย์, ม.ป.ป., น.

                       9 - 11)
                                     3) การดำเนินการถอดบทเรียน ได้มีการกำหนดขั้นตอนในการถอดบทเรียนหลาย
                       ลักษณะ (กริช อินทราทิพย์ และอรยา พูลทรัพย์, ม.ป.ป., น. 6 – 9; ญาณิศา ไชยศรีหา, ม.ป.ป., น.
                       2; นิคม สุวพงษ์, 2565) อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยสามารถจำแนกได้เป็น 6 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่

                                            )3.1) ขั้นของการเตรียมการ ได้แก่ ผู้ถอดบทเรียนต้องทำความเข้าใจใน
                       สองประเด็นหลัก ได้แก่ ความรู้เรื่องการถอดบทเรียน และความรู้เกี่ยวกับบทเรียนที่ต้องการถอด ระบุ
                       บทเรียนที่จะถอด ค้นหา และประสานเจ้าของบทเรียนเกี่ยวกับกำหนดการถอดบทเรียน และข้อมูลที่
                       ต้องการรวบรวมและศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบทเรียนที่จะถอด เพื่อใช้เป็นกรอบความคิดในการ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22