Page 15 -
P. 15

์
                                               ิ
                                     ิ
                                   ื
                                                                    ิ
                                                                                ิ
              โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                        6




                       ตารางที่ 1.1 ราคาของโดรนเพื่อการเกษตร 1 ชุด ดัดแปลงจาก Bug Away Thailand by DGI
                       Production (2019)
                                                  อุปกรณ์                                 ราคา  บาท )
                                                                                               )
                        ชุดโดรนสำหรับการเกษตร (พร้อมระบบฉีดพ่นสาร และถัง) 4 – 8          450,000 –

                        ใบพัด มีระบบ GNSS  มีรีโมทคอนโทรลพร้อมหน้าจอแสดงผล แบตเตอรี่      700,000
                        ตู้ชาร์จแบตเตอรี่
                        แบตเตอรี่  ก้อนละ )                                                72,000
                                (
                        ตู้ชาร์จแบตเตอรี่ 1 – 2 ช่องชาร์จ (ตู้ละ)                     33,000 – 55,000
                        เครื่องปั่นไฟ  เครื่องละ )                                        110,000
                                  (
                               (
                        ถังหว่าน  กรณีต้องการใช้งานการหว่านเมล็ด ถังละ )                   26,000

                                     จากตารางที่ 1.1 ชุดโดรนการเกษตรเริ่มต้นมีราคาค่อนข้างสูง เกษตรกรผู้ใช้งาน
                       จำเป็นต้องมีทุนสำหรับจัดหาอปกรณ์ดังกล่าว การดำเนินงานโดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมกลุ่มกันของ
                                                ุ
                       เกษตรจากโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการนาแปลงใหญ่ที่ภาครัฐให้การสนับสนุนหรือเป็นกลุ่มสหกรณ์

                       การเกษตร ในพื้นที่ทำนาข้าวหลัก เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี และนครสวรรค์ จะมีตัวแทนจัดจำหน่าย
                       โดรนคอยให้บริการผู้ใช้งานรวมถึงบริการจัดหาอะไหล่ และบำรุงรักษาโดรนตามการใช้งาน
                                     การทำงานจะเริ่มจากวางแผนการบินในแปลงนาโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่มากับโดรน
                       การเกษตร กำหนดตำแหน่งขึ้นลง จากนั้นคำนวณปริมาณสารที่ใช้ในการทำงานและสั่งให้โดรนเริ่ม

                       ทำงาน โดรนจะเริ่มบินเพื่อพ่นสารตามแผนการบินที่วางไว้จนเสร็จก็จะบินกลับมาลงจอดยังตำแหน่ง
                       ขึ้นลงที่บันทึกไว้ ในกรณีที่แปลงนาใหญ่มาก จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ระหว่างการทำงาน โดรนจะ
                       มีระบบบันทึกตำแหน่งที่พ่นสารสุดท้าย และกลับมาลงจอดยังจุดบันทึกเพอเปลี่ยนแบตเตอรี่ หลังจาก
                                                                                   ื่
                       เปลี่ยนแบตเตอรี่เสร็จสิ้น โดรนจะบินกลับไปยังตำแหน่งสุดท้ายเพื่อเริ่มทำงานต่อ
                                     พีส คูณดี และคณะ (2565) ได้รายงานเกี่ยวกับการนำโดรนไปใช้ด้านการเกษตร
                       โดยใช้แปลงปลูกอ้อยเป็นพื้นที่ทดลองเปรียบเทียบกับการใช้รถแทรกเตอร์ และแรงงานคน จากการ
                       ทดลองแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโดรนในด้านกระบวนการทำงาน เกษตรกรสามารถกำหนด
                       ปริมาณของสารฉีดพ่นให้พอดีกับพื้นที่ ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องมีช่วงหยุดพักเติมสารฉีดพ่น นอกจากนี้

                       การทำงานสามารถทำได้ต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องหยุดพักเหนื่อยเนื่องจากไม่ได้ใช้แรงงานคน อย่างไรก็
                       ตาม ก่อนเริ่มทำงาน การใช้โดรนจำเป็นต้องวางแผนการบินฉีดพ่นซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในส่วนนี้ เมื่อ
                       เปรียบเทียบเวลาการทำงานในแปลงที่มีขนาดพื้นที่เท่ากัน (ขนาดพื้นที่ 2 ไร่) ในรอบการทำงานครั้ง

                       แรก โดรนใช้เวลาในการทำงาน 21.19 นาที (รวมวางแผนการบิน) ในขณะที่การใช้แรงงานคนใช้
                       เวลา 39.49 นาที หากมีการพ่นสารซ้ำพื้นที่เดิม   โดรนจะใช้เวลาเพียง 12.91 นาที เนื่องจากไม่
                       จำเป็นต้องวางแผนการบินซ้ำเหมือนรอบแรก
                                     อย่างไรก็ตาม แปลงเกษตรที่ใช้โดรนแทนแรงงานคน ควรเป็นแปลงที่มีขนาดใหญ่

                       ระยะแถวมีความยาว เพื่อให้โดรนสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง บริเวณรอบแปลงไม่ควรมีต้นไม้สูง
                       ปลูกอยู่รอบแปลงเนื่องจากเป็นอุปสรรคในการทำงาน หากแปลงเกษตรเป็นพื้นที่ขนาดเล็กควรใช้
                       แรงงานคนแทนการใช้โดรนเมื่อเปรียบเทียบในเรื่องของประสิทธิภาพและความคุ้มค่า
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20