Page 16 -
P. 16

ิ
                                   ื
                                                  ์
                                                                    ิ
                                                                                ิ
                                     ิ
              โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                        7




                                     การใช้โดรนในการเกษตร หรืองานอื่นทั่วไป ผู้ใช้งานจำเป็นต้องศึกษากฎหมายที่
                       เกี่ยวข้องกับการใช้งานโดรนให้เข้าใจ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (ม.ป.ป.) ได้ให้รายละเอียด
                       เกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษา และประกาศกระทรวงคมนาคม ดังนี้ “มีการกำหนดหลักเกณฑ์การ
                       อนุญาต และเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุม

                       การบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นการควบคุมการบินตามกฎหมายของไทย หากผู้ใดทำ
                       กระทำความผิดต่อกฎอย่างใดอย่างหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000
                                     ั้
                       บาท หรือทั้งจำทงปรับ โดยราชกิจจานุเบกษา ข้อ 4 มีหลักเกณฑ์ และมีการแบ่งอากาศยานที่ควบคุม
                       การบินจากภายนอกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

                                     (1) ประเภทที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือ
                       เพื่อการกีฬา แบ่งออกเป็น 2 ขนาด คือ (ก) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม (ข) ที่มีน้ำหนักเกิน 2
                       กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม
                                     (2) ประเภทที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจาก (1) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม

                       ดังต่อไปนี้ (ก) เพื่อการรายงานเหตุการณ์ หรือรายงานการจราจร (สื่อมวลชน) (ข) เพื่อการถ่ายภาพ
                       การถ่ายทำหรือการแสดงในภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ (ค) เพื่อการวิจัย และพัฒนาอากาศยาน
                       (ง) เพื่อการอื่น ๆ

                                     ประเภทที่ (2) นั้นกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม ขณะที่ประเภทที่ (1) มี
                       แบ่งย่อยตามขนาด ดังนี้ ประเภท 1.ก มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับ หรือปล่อย
                       อากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้
                       กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
                                     อากาศยานประเภท 2 ก็ต้องขึ้นทะเบียน และปฏิบัติเงื่อนไขเดียวกันกับประเภท 1.

                       ข กรณีที่ใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์ หรือรายงานจราจร (สื่อมวลชน) หรือวิจัย และพัฒนาอากาศยาน
                       การขึ้นทะเบียนต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามนั้น ส่วนเพื่อใช้ถ่ายภาพหรือการอื่นจะขึ้น
                       ทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องระบุรายชื่อผู้บังคับ

                       หรือปล่อยอากาศยานหรือบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานด้วยโดยต้องปฏิบัติตาม
                       เงื่อนไขที่กำหนดไว้ สำหรับผู้ใดประสงค์จะบังคับหรือปล่อยอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก
                       ที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม ให้ยื่นขออนุญาตต่ออธิบดีเป็นกรณีไป”


                              1.3.2 แนวคิดเกี่ยวกับการถอดบทเรียน
                                     1) ความหมาย และความสำคัญ การถอดบทเรียน (Lesson Learned) เป็น
                       เครื่องมือชนิดหนึ่งในการจัดการความรู้ที่ใช้สำหรับการค้นคว้าความรู้ หลังจากที่ได้ปฏิบัติจนเสร็จสิ้น
                       ไปแล้ว เพื่อพิจารณาถึงความสำเร็จ จุดแข็ง หรือข้อดีที่เกิดขึ้น หรือหาความผิดพลาด หรือปัญหาที่

                       เกิดขึ้น การถอดบทเรียนเป็นการทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมา เพื่อวิเคราะห์สาเหตุ วิธีการ และ
                       ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ หรือไม่สำเร็จที่ผ่านมา (ญาณิศา ไชยศรีหา, ม.ป.ป., น. 1) การถอด
                       บทเรียน เป็นการทบทวน หรือสรุปประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาในมุมต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึง
                       รายละเอียดของเหตุปัจจัย ทั้งภายใน และภายนอกซึ่งทำให้เกิดผลอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งที่สำเร็จ

                       หรือล้มเหลวหรือการสืบค้นความรู้จากการปฏิบัติงานโดยใช้วิธีการสกัดความรู้ และประสบการณ์ที่ฝัง
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21