Page 12 -
P. 12

ิ
                                     ิ
                                                  ์
                                                                    ิ
                                                                                ิ
                                   ื
              โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                        3




                       1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                              1.2.1  เพื่อสำรวจสถานะ การใช้โดรนเพื่อการเกษตร ของกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ใน
                       จังหวัดสุพรรณบุรี

                              1.2.2  เพื่อถอดบทเรียนการใช้โดรนเพื่อการเกษตร ของกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ใน
                       จังหวัดสุพรรณบุรี
                              1.2.3 เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้โดรนเพื่อการเกษตร ให้กับกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ใน
                       จังหวัดสุพรรณบุรี


                       1.3 ทบทวนวรรณกรรม

                              จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้โดรนเพื่อการเกษตร และการถอดบทเรียน

                       สามารถสรุปได้ดังนี้

                              1.3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการใช้โดรนเพื่อการเกษตร

                                     อากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรน เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทใน
                       หลากหลายธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง การถ่ายทำภาพยนต์ การพักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ ในด้านการ
                       สำรวจ โดรนถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น การสำรวจเหมือง การสำรวจเขื่อน ทำแผนที่เฉพาะทาง
                       ซึ่งการทำงานในอดีตจำเป็นต้องใช้เครื่องบินเท่านั้น หลังจากมีการประยุกต์โดรนกับงานเหล่านี้ทำให้
                       สามารถลดเวลา ค่าใช้จ่าย และกำลังคน รวมถึงได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำในระดับ

                       เซนติเมตร
                                     ในด้านการเกษตร โดรนถูกนำมาใช้เป็นนวัตกรรมสำหรับลดเวลาในการทำงาน ลด
                       แรงงานคน และควบคุมปัจจัยการผลิต นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ติดตามการเจริญเติบโตของ

                       พืชผลทางการเกษตร เช่น การเจริญเติบโตของต้นข้าว (ปริญฉัตร จุนถาวร และกฤชญาณ อินทรัตน์,
                       2565) และสุขภาพของข้าว (ปริญฉัตร จุนถาวร, กฤชญาณ อินทรัตน์, และนิลันดอน ไสยะวง,
                       2564) เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์และใช้เป็นข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่สุขภาพของข้าวลดลง
                       อย่างทันท่วงที สำหรับการทำนาข้าวในประเทศไทย โดรนด้านการเกษตรได้มีบทบาทในด้านการ

                       ประยุกต์กับงานเกษตรแม่นยำ เช่น การให้ยา การให้ฮอร์โมน การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นทางเลือกให้แก่
                       เกษตรกรผู้ที่ต้องการปรับตัวให้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม การเลือกใช้โดรนเป็นสิ่งที่เกษตรกร
                       ต้องเลือกให้เหมาะกับลักษณะงาน ปัจจุบันโดรนมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก  ่
                                     1) Multirotor UAV มีใบพัดจำนวน 4 ใบพัดขึ้นไป บังคับขึ้นลงได้สะดวก ไม่

                       จำเป็นต้องมีรันเวย์ให้ร่อนลงจอด มีความอเนกประสงค์ปรับให้รองรับกับงานได้หลากหลายด้าน ใน
                       ภาคการเกษตรนิยมใช้ UAV ประเภทนี้
                                     2) Fixed-wing drones เป็น UAV ที่มีความเร็ว น้ำหนักเบา เหมาะสมแก่การใช้
                       งานด้านสำรวจ จัดทำแผนที่ แต่มีข้อระวัง คือ ต้องมีพื้นที่รันเวย์สำหรับร่อนลงจอดและต้อง

                       ระมัดระวังเนื่องจากตัวเครื่องมีความบอบบางและเบามาก
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17