Page 14 -
P. 14
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
์
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5
สายไฟจากเสาไฟฟ้า ที่โดรนแบบใบหมุนจะมีความสามารถในการบังคับให้หลบเลี่ยงได้ดีกว่าแบบปีก
ติดลำตัว (Wang et al., 2019)
ภาพที่ 1.2 โดรนแบบปีกหมุน ยี่ห้อ DJI รุ่น AGRAS T20
เทคโนโลยีด้านโดรนที่ปรับใช้ในการทำนาข้าวมีความสามารถในการทำงานที่
ุ
หลากหลายร่วมกับอปกรณ์ทใช้อยู่เดิม ในการจัดการแปลง UAV ถูกนำมาติดตั้งอปกรณ์สำหรับหว่าน
ุ
ี่
ปุ๋ย รดน้ำ หรือให้ยา โดยการใช้โดรนช่วยให้สามารถวางแผน และกำหนดระยะเวลาในการทำงาน
ในช่วงที่วิกฤตของข้าวได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดแรงงานของคนลง เช่น ในการฉีดพ่นนาข้าวขนาด
ประมาณ 100 - 200 ไร่ต่อวัน จะต้องใช้แรงงานคนประมาณ 10 – 20 คน ในขณะที่การใช้โดรน
จะใช้แรงงานคน 1 - 2 คนเท่านั้น (ธงชัย วจะสุวรรณ และเจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ, 2565) เป็น
การแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกษตรกรส่วนใหญ่เป็น
ผู้สูงอายุ นอกจากการใส่ปัจจัยการผลิต โดรนยังถูกนำมาใช้สำหรับถ่ายภาพวิเคราะห์ความอุดม
สมบูรณ์ และตรวจโรคข้าวโดยใช้เซนเซอร์แบบหลายช่วงคลื่นเพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของข้าว
ในแปลง
อุปกรณ์ชุดโดรนที่ใช้สำหรับการเกษตรโดยทั่วไปจะจำหน่ายเป็นชุด มีช่วงราคาอยู่
ระหว่าง 450,000 – 700,000 บาทขึ้นไปขึ้นอยู่กับความสามารถของโดรน เช่น ระยะเวลาในการ
บิน ปริมาตรของถังใส่สารพ่น และพื้นที่การทำงานต่อชั่วโมงซึ่งมีตั้งแต่ 5-10 ไร่ ไปจนถึง 100 ไร่ต่อ
ชั่วโมง ตารางที่ 1.1 แสดงราคาของชุดโดรนการเกษตรและอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นต้องใช้ในการทำนา