Page 13 -
P. 13
์
ิ
ื
ิ
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4
ั
3) Hybrid model (tilt-wing) เป็น UAV ประเภทพิเศษมีทั้งปีกและใบพด
สามารถบินได้เร็วและสูงกว่าสองประเภทแรก ไม่จำเป็นต้องมีรันเวย์ในการขึ้นลง มีราคาสูงมาก จึงไม่
นิยมใช้ในการทำงานทั่วไป
ในการประยุกต์โดรนในด้านการเกษตรจำเป็นต้องพัฒนาและออกแบบโดรนให้มี
ความเหมาะสมตามการใช้งานในแปลงนา โดยทั่วไป โดรนการเกษตรแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก
ได้แก่ แบบปีกติดลำตัว (fixed-wing) และแบบใบหมุน (rotary-wing)
1) โดรนปีกติดลำตัว ถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายเครื่องบิน ตัวเครื่องมักทำจาก
วัสดุน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรง ใช้พลังงานต่ำกว่าโดรนประเภทอื่น ส่งผลให้โดรนประเภทนี้
สามารถทำงานได้ครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยปกติจะนิยมใช้ในการสำรวจพื้นที่ด้านการเกษตรมากกว่า
ื
ที่จะใช้สำหรับให้ปัจจัยการผลิต (Vega et al., 2020) ส่วนใหญ่จะนำโดรนปีกติดลำตัวไปใช้ในพ้นที่
การเกษตรที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามในการขึ้นบินและลงจอดจำเป็นต้องมีทางเฉพาะซึ่งอาจเป็น
ข้อจำกัดในการใช้งานโดรนประเภทนี้
ภาพที่ 1.1 โดรนแบบปีกติดลำตัวจาก Sensefly รุ่น Ebee=X (SenseFly, 2022)
2) โดรนแบบใบหมุน มีลักษณะคล้ายกับเฮลิคอปเตอร์ แต่จะมีจำนวนของใบพัดที่
มากกว่า โดยปกติจะมีใบพัดจำนวน 4 ใบขึ้นไปขึ้นอยู่กับขนาดของตัวโดรน จากการที่มีใบพัดหลายใบ
ทำให้โดรนสามารถบินขึ้นและลงจอดแบบดิ่งได้ มีความเหมาะสมต่อการบินไปสู่ตำแหน่งในการสเปรย์
ปัจจัยการผลิตในแปลงนาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ได้หลากหลายตาม
ื
ประเภทการใช้งาน เช่น การให้ปุ๋ย การให้ยาฆ่าศัตรูพืช หรือจะใช้ในการสำรวจติดตามสุขภาพพช
ั้
(Zhang et al., 2019) โดยโดรนประเภทนี้สามารถนำมาใช้ได้ทงในแปลงนาที่มีขนาดใหญ่และขนาด
เล็กซึ่งเหมาะสมกับการใช้ทำนาข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี เนื่องจากลักษณะแปลงนาในจังหวัด
สุพรรณบุรีมีขนาดแปลงที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคภายในแปลง เช่น ต้นไม้ ตอไม้ และ