Page 19 -
P. 19
ิ
ิ
ื
์
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
10
อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้มีการนำบทเรียนไปใช้ประโยชน์หรือไม่เพียงไร เพราะ
อะไร
1.4 กรอบแนวคิด
จากการทบทวนแนวคิดข้างต้น คณะผู้วิจัยได้นำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินการวิจัย
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.4.1 การสำรวจสถานะในการใช้โดรนเพื่อการเกษตรของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในจังหวัด
สุพรรณบุรีครั้งนี้ เป็นการสำรวจทั้งในกลุ่มที่มีโดรน และไม่มีโดรน โดยจะเป็นการสำรวจใน 7 มิติ
ได้แก่ (1) มิติด้านกลุ่มที่ใช้ (2) มิติด้านวัตถุประสงค์ในการใช้ (3) มิติด้านเทคโนโลยีที่ใช้ (4) มิติด้าน
วิธีการใช้ (5) มิติด้านองค์ความรู้ของผู้ใช้ (6) มิติด้านประโยชน์ที่ได้จากการใช้ และ (7) มิติด้าน
ปัญหาจากการใช้โดรน
1.4.2 การถอดบทเรียนประสบการณ์ในการใช้โดรนเพื่อการเกษตรของเกษตรกรนาแปลง
ใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการถอดบทเรียนหลังการดำเนินการ หรือการถอดบทเรียนหลัง
ปฏิบัติการ (After Action Review: AAR) เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการครั้งต่อไป โดยจะเป็นการ
นำเอาบทเรียนจากความสำเร็จและความล้มเหลวของการใช้โดรนที่ผ่านมาของเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม
มาพัฒนา หรือปรับปรุงการใช้โดรน เป็นการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น โดยคำถามหลัก ได้แก่ ทำอะไร ทำไม
จึงทำ มีวิธีทำอย่างไร (ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร และได้อะไร) เคล็ดลับในการทำให้สำเร็จ สิ่งที่คาดว่า
จะได้จากการทำงาน และสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สิ่งที่แตกต่าง ทำไมจึงแตกต่าง ข้อควรระวังในการทำ สิ่งที่
ต้องแก้ไข รายละเอียดการปรับปรุง หลังจากนั้นสรุปเป็นบทเรียนแต่ละบทเรียน พร้อมทั้งนำเสนอใน
3 ด้าน คือ (1) การดำเนินการ (2) ปัญหา/ข้อควรระวัง และ (3) เคล็ดลับในการทำให้สำเร็จ/แนว
ปฏิบัติที่ดี
ทั้งนี้คณะผู้วิจัยจะแบ่งขั้นตอนในถอดบทเรียนออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นของการ
เตรียมการก่อนการดำเนินการ (2) ขั้นการดำเนินการถอดบทเรียน (3) ขั้นของการวิเคราะห์ข้อมูล
ความรู้ที่ได้ (4) ขั้นการดำเนินการหลังการถอดบทเรียน และ (5) ขั้นติดตามการนำบทเรียนไปใช้
ประโยชน์
1.4.3 การพัฒนาศักยภาพการใช้โดรนเพื่อการเกษตร ของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในจังหวัด
สุพรรณบุรี เป็นการนำเอาบทเรียนที่ได้จากการเรียนรู้มาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรนาแปลงใหญ่ซึ่งเป็น
กลุ่มเป้าหมายหลักในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้