Page 16 -
P. 16
ิ
ิ
ิ
ิ
ื
์
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แบร์รี่และคณะ (Barry et al., 2012( ได้ให้ความเห็นว่า การสื่อสารดิจิทัล หมายถึง การแพร่กระจายหรือ
การส่งผ่านข้อมูลผ่านทางสื่อรูปแบบดิจิทัล ซึ่งในปัจจุบันเข้ามามีบทบาทส าคัญต่อระบบการสื่อสารมากขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยสื่อดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตามแต่พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในการสื่อสารระหว่าง
คอมพวเตอร์และคอมพวเตอร์ การส่งผ่านข้อมูลในลักษณะนี้จะเป็นการส่งผ่านข้อมูลทางดิจิทัลอยู่แล้ว นอกจากนี้
ิ
ิ
ข้อมูลที่มีความต่อเนื่องของเวลา ยกตัวอย่างเช่น เสียง เสียงเพลง หรือคลิปวีดิโอก็สามารถส่งผ่านดิจิทัลได้เป็น
อย่างดี (Barry et al., 2012)
แมดฮาว (Madhow, 2008) ได้กล่าวถึงการสื่อสารดิจิทัลว่า การสื่อสารดิจิทัลได้มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว
มากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่ท าให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากการน าเครือข่ายการสื่อสาร
แบบไร้สายไปใช้แพร่กระจายข่าวสารในเชิงพาณิชย์ ใช้หลักการเคลื่อนผ่านของกระแสตัวเลขหรือข้อมูลจากสถาน
ี
ที่ตั้งหนึ่งไปยังอกสถานที่หนึ่ง โดยผ่านทางสื่อกลางทางกายภาพ เช่น สายไฟบิดเกลียว ใยแก้วน าแสง วิทยุ หรือ
สายเคเบิ้ล (Madhow, 2008)
จากการทบทวนวรรณกรรมข้างต้นผู้เขียนสามารถสรุปได้ว่า การสื่อสารดิจิทัลหมายถึง การสื่อสารที่น า
ิ
เทคโนโลยีอเล็กทรอนิกส์มาเป็นสื่อกลางช่วยเผยแพร่กระจายข่าวสารจากแบรนด์ไปถึงผู้บริโภค โดยสื่อกลางทาง
กายภาพรูปแบบต่าง ๆ และผ่านทางช่องทางดิจิทัลหลากหลายแพลตฟอร์ม
ุ
อย่างไรก็ตาม จากการทบทวนวรรณกรรมของการสื่ อสารดิจิทัลในอตสาหกรรมอาหาร ผู้ เขียน ได้ พบกับค า
ว่า “Digital Food Cultures” ซึ่งจะกล่าวถึงสื่งที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่ถูกน าเสนอผ่านทางสื่อดิจิทัลหลากหลาย
รูปแบบ เช่น บล็อก (Blog) วีดิโอบล็อก (Vlog) เฟซบุ๊ก (Facebook) อินสตาแกรม (Instagram) ยูทูบ (YouTube)
เทคโนโลยีที่พฒนามาเพอใช้ในด้านของการโฆษณาและการท าโปรโมชั่น (Technology Developers'
ั
ื่
Promotional Media) กระดานสนทนา กระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างผู้
เยี่ยมชมเว็บไซต์กับเจ้าของเว็บไซต์และระหว่างผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ด้วยกันเอง (Online Discussion Forum)
(Finley, 2016; Lupton & Feldman, 2020) อาหาร ในความหมายดั้งเดิมที่สุดของค านี้ เป็นสิ่งที่ใช้ส าหรับการ
ยังชีพ แต่วัฒนธรรมการสื่อสารดิจิทัลผลักดันให้อาหารมีพฒนาการที่แตกต่างไป ทั้งโครงสร้างพนฐานและ
ั
ื้
ี
รายละเอยดต่าง ๆ ที่ท าให้อาหารมีการสื่อสารและแข่งขันกันมากขึ้น (Feldman & Goodman, 2021) อย่างไรก็
ั
ตาม ความสัมพนธ์ระหว่างอาหารกับวัฒนธรรมดิจิทัลยังคงเป็นข้อกังวลที่ยังถูกมองข้ามทั้งในด้านการศึกษาด้าน
วัฒนธรรมและอาหาร (Leer & Krogager, 2021; Lewis, 2018; Phillipov & Kirkwood, 2018; Schneider et
al., 2017) แต่เป็นที่น่าประหลาดใจเมื่อการศึกษามุ่งเน้นไปที่สื่อด้านอาหาร (Food media) ที่มีมายาวนาน รวมถึง
การวิจัยทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับต าราอาหารที่มีความซับซ้อน นิตยสารเกี่ยวกับการท าอาหาร รายการโทรทัศน์ด้าน
อาหาร โฆษณาอาหาร และ คนดังด้านอาหาร (Ashley, 2004; De Solier, 2013; Collins, 2009; Casey, 2019;
Johnston, et al., 2014; Leer and Povlsen, 2018) และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ผ่าน
มาท าให้ผู้คนมีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมดิจิทัลมากขึ้นจนกลายเป็นความคุ้นชินในการด าเนินชีวิตที่มีหน้าจออยู่
ร่วมด้วยเสมอ (Jones, 2020)
14