Page 102 -
P. 102
์
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ิ
ิ
100
วัฏจักรยูเรีย (Urea cycle)
ในสัตว์ชั้นสูงมีกระบวนการก าจัดแอมโมเนียด้วยการสังเคราะห์เป็นยูเรียและขับออกนอก
ร่างกาย ขณะที่ปลาและสัตว์น้ าก าจัดในรูปเกลือแอมโมเนีย ส่วนนกและสัตว์เลื้อยคลานขับแอมโมเนียใน
รูปของกรดยูริก
วัฏจักรยูเรียถูกค้นพบโดย Hans Krebs และ Kurt Henselcit ในปี ค.ศ. 1932 เกิดขึ้น ในไมโต
คอนเดรียของตับ (รูปที่ 2-22) เริ่มจากแอมโมเนียที่ได้จากกลูทาเมตท าปฏิกิริยากับได้เป็นคาร์บาโมอิล
ฟอสเฟต (Carbamoylphophate) ซึ่งต้องใช้พลังงานถึง 2 ATP คาร์บาโมอิลฟอสเฟตที่เกิดขึ้นรวมกับ
ออร์นิทีน (Ornithine) ได้เป็นซิทรูลิน (Citruline) โดยใช้เอนไซม์ที่มีความจ าเพาะสูง คือ เอนไซม์ออร์นิ
ทีนคาร์บาโมอิลทรานสเฟอเรส (Ornithine carbamoyl transfase) ซิทรูลีนที่เกิดขึ้นออกจากไมโตคอน
เดรีย โดยอาศัยเอนไซม์ออร์นิทีนซิทรูลันทรานสโลเคส (Ornithine citruline trans-locase) เข้าสู่ไซ
โทพลาสสึม เพื่อรวมตัมกับแอสพาร์เตตได้เป็นอาร์จินิโนซักซิเนต (Argininosuccinate) โดยใช้เอนไซม์
อาร์จินิซักซิเนตไลเอส (Argininosuccinate lyase) จากนั้นอาร์จินิซักซิเนตไลเอสสลายต่อได้อาร์จินีน
กับฟูมาเรตและอาร์จินีนถูกสลายต่อด้วยเอนไซม์อาร์จิเนส (Arginase) ได้ยูเรียกับออร์นิทีนผ่านเข้าไปใน
ไมโตคอนเดรีย โดยใช้เอนไซม์ออร์นิทีนซิทรูลีนทรานสโลเคส ในการสังเคราะห์ยูเรีย 1 โมเลกุล สามารถ
้
ขจัดแอมโมเนียได 2 โมเลกุลใช้พลังงาน 4 ATP
ภาพที่ 2-22 วัฏจักรยูเรีย
ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/6/64/Urea_cycle_1.png 20 ตุลาคม 2560
บทที่ 2 สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์