Page 103 -
P. 103

์
                                              ิ
                                     ิ
                                                                           ิ
                                   ื
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                 ิ
                                                           101

                         ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์ยูเรีย ได้แก่ ปริมาณโปรตีน กล่าวคืออัตราเร็วในการสังเคราะห์
                  ยูเรียเปลี่ยนแปลงตามปริมาณโปรตีนที่ได้จากอาหาร รวมทั้งที่ได้จากการสลายโปรตีนของกล้ามเนื้อ ถ้า

                  มีปริมาณโปรตีนมากก็มีการสังเคราะห์ยูเรียมากด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ปริมาณเอนไซม์ในวัฏจักรยูเรีย
                  และปริมาณสารตัวกลางในวัฏจักยูเรียล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์ยูเรียทั้งสิ้น



                  2.2 การสังเคราะห์กรดอะมิโน

                         พืชและจุลชีพมีกระบวนการสังเคราะห์กรดอะมิโนได้ทุกชนิด ขณะที่มนุษย์และสัตว์สังเคราะห์
                  กรดอะมิโนเพียง 10 ชนิด จึงเรียกกรดอะมิโนกลุ่มนี้ว่า “กรดอะมิโนไม่จ าเป็น (Non-essensial amino

                  acids)” กรดอะมิโนที่เหลืออีก 10 ชนิดเรียกว่า “กรดอะมิโนจ าเป็น (Essensial amino acids)” เพราะ

                  จ าเป็นต้องได้จากอาหารโปรตีน ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เนื่องจากไม่มีเอนไซม์
                         การสังเคราะห์กรดอะมิโนไม่จ าเป็นแต่ละชนิด มีวิถีและเอนไซม์ที่ใช้แตกต่างกันและเป็นคนละ

                  วิถีกับการสลาย ร่างกายสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้จากกลูโคสโดยผ่านวิถีไกลโคไลซิสและวัฏ

                  จักรเครบส์ 9 ชนิด (ภาพที่ 2-23) สาหรับไทโรซีนกรดอะมิโนจ าเป็นชนิดที่ 10 สังเคราะห์ได้จากฟีนิลอะ

                  ลานีน


                         2.2.1 การสังเคราะห์กรดอะมิโนไม่จ าเป็น (Biosynthesis of non-essential amino

                  acids)

                         โดยทั่วไปปฏิกิริยาที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนไม่จ าเป็นไม่ยุ่งยาก สารประกอบที่มักใช้เป็น
                  สารตัวกลางในวิถีไกลโคไลซิลและวัฏจักรเครบส์หรือได้จากกรดอะมิโน



                         การสังเคราะห์กรดกลูทามิก กลูทามีนและโพรลีน
                         กรดกลูทามิกส่วนใหญ่ถูกสังเคราะจากปฏิกิริยาการเติมหมู่อะมิโนให้ -คีโทกลูทาเรต ใช้

                  เอนไซม์กลูทาเมตดีไฮโดรจีเนสเร่งปฏิกิริยา โดยมี NADP  เป็นโคเอนไซม์ เอนไซม์นี้ใช้ในการสังเคราะห์
                                                                 +
                  กรดกลูทามิกโดยเฉพาะและต่างจากเอนไซม์กลูทาเมตดีไฮโดรจีเนสที่มี NAD  เป็นโคเอนไซม์จะใช้
                                                                                    +
                  เฉพาะการสลายกรดกลูทามิก ปฏิกิริยาสังเคราะห์กรดกลูทามิกเป็นปฏิกิริยาที่ส าคัญในกระบวนการ

                  สังเคราะห์กรดอะมิโน เพราะเป็นการน าเอาแอมโมเนียที่ได้จากแคแทบอลิซึมของกรดอะมิโนต่างๆ

                  กลับมาใช้อีก กลูทามีนสังเคราะห์ได้จากกรดกลูทามิกรวมกับแอมโมเนียเป็นปฏิกิริยาที่เร่งโดยเอนไซม์
                  กลูทามีนซินทิเทสซึ่งต้องใช้พลังงานจาก ATP ส าหรับโพรลีนเกิดจากโมเลกุลของกลูทามิกถูกรีดิวซ์ มี

                  เอนไซม์กลูทาเมตไคเนสกลูทาเมตดีไฮโดรจีเนสและเอนไซม์ไพรโรลิน 5-คาร์บอกซิเลสตรีดักเทสเร่งปฏิกิริยา

                  (ภาพที่ 2-24



                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108