Page 26 -
P. 26

โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                 ื
                                    ิ
                                                ์
                                                                   ิ
                                                                              ิ
                                             ิ


                ประเทศที่พัฒนาแลว 25 เปอรเซ็นตของผลผลิตผลไมสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ในขณะที่
                ความสูญเสียเกิดขึ้นมากกวา 50 เปอรเซ็นตในประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะขาดการขนสงที่มี

                ประสิทธิภาพและหองเย็น (Liu et al. 2013; Zhang et al. 2020)

                                                                                                                         บทที่ 1
                สาเหตุของการเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยว


                          การเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยวซึ่งมีสาเหตุจากจุลินทรียอาจเกิดจากราหรือแบคทีเรีย

                สาเหตุของการเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่ระบุชนิดไดอยางถูกตองเปนสิ่งสำคัญในการเลือก

                แนวทางการควบคุมโรคที่เหมาะสม ราเปนสาเหตุหลักของโรคหลังการเกบเกี่ยว ราหลายชนิดที่เปน
                                                                                        ็
                สาเหตุของโรคหลังการเก็บเกี่ยวอยูในไฟลัม Ascomycota และมักจะเปนระยะที่มีการสืบพันธุแบบ

                ไมอาศัยเพศ สกุลที่สำคัญ เชน Penicillium, Aspergillus, Geotrichum, Botrytis, Fusarium, Alternaria,

                Colletotrichum, Dothiorella, Lastodiplodia, Phomopsis สวนราในไฟลัม Oomycota สกุลที่สำคัญ คือ

                Phytophthora และ Pythium สวน Rhizopus และ Mucor เปนสาเหตุของโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่

                สำคัญในไฟลัม Zygomycota  สำหรับราสกุลในไฟลัม Basidiomycota ปกติไมไดเปนสาเหตุสำคัญ

                ของการเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยว แตราที่มีระยะการสืบพันธุแบบอาศัยเพศโดยการสราง

                เบซิดิโอสปอร เชน Sclerotium rolfsii และ Rhizoctonia solani ทำใหเกิดการสูญเสียกับผักหลายชนิด

                เชน มะเขือเทศ มันฝรั่ง ในขณะที่โรคที่มีสาเหตุจากเชื้อกอโรคเหลานี้เปนโรคที่เกิดในแปลงเพาะปลูก

                เปนหลักแตการแสดงอาการจะเกิดอยางเร็วหลังการเก็บเกี่ยว สวนแบคทีเรียสกุลที่เปนสาเหตุของ

                การเกิดโรคเนาเละที่เกิดจากแบคทีเรีย (bacterial soft rots) เชน Erwinia, Pseudomonas,  Bacillus,

                Lactobacillus, Xanthomonas โรคเนาเละที่เกิดจากแบคทีเรียเปนโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่สำคัญของ

                ผักหลายชนิด แตมีความสำคัญนอยในผลไมหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากผลไมสวนใหญมีพีเอช (pH)

                ต่ำจึงสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่เปนสาเหตุของโรคพืชสวนใหญ (Zhang et al. 2020)

                          รากอโรคเขาทำลายผลไมไดโดยเขาทางบาดแผลและทางชองเปดธรรมชาติบนผิวของ

                ผลไม โดยทั่วไปการเขาทำลายผลไมของราเปนแบบแฝง (latent infection) คือ เมื่อราสรางเสนใยอยู

                ภายในเซลลของผลไมแลวจะหยุดการเติบโตชั่วคราว และแฝงตัวอยูระหวางเซลลบริเวณผิวของ

                ผลไม จนกระทั่งผลไมเขาสูระยะที่มีการเติบโตเต็มที่ มีสารอาหาร ปริมาณน้ำตาล ความชื้น

                ความเปนกรดหรือเบสที่เหมาะสม รวมกับภาวะที่เอื้อตอการเจริญของรา ราจึงเริ่มเจริญและแสดง

                อาการของโรคในเวลาตอมา เชื้อกอโรคสามารถแพรระบาดโดยลม ฝน และเศษซากพืชที่เปนโรคใน

                แปลงปลูก เครื่องมือทางการเกษตรหรืออุปกรณในโรงคัดบรรจุ รวมถึงการสัมผัสระหวางผลไมที่

                เปนโรคกับผลไมปกติ ซึ่งทำใหเกิดความเสียหายในระหวางการขนสง เก็บรักษา วางจำหนาย

                จนกระทั่งถึงผูบริโภค ทำใหผลไมมีคุณภาพต่ำ มีอายุการเก็บรักษาสั้น และราคาราคาตกต่ำ





                                                          การประยุกตใชยีสตเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมยุคใหม      17
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31