Page 25 -
P. 25

์
                                                                   ิ
                                 ื
                                    ิ
                                                                              ิ
                  โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                             ิ


           ประจำทำใหเหลือสารเคมีตกคางในสิ่งแวดลอมเกิดความเปนพิษ และอาจปนเปอนไปสูสิ่งมีชีวิตอื่นที่
           ใชเปนอาหาร (Ferraz et al. 2019; Rahman et al. 2018) ตัวอยางของสารเคมีฆาราที่นิยมใชสำหรับ

           การควบคุมโรคพืชที่เกิดจากรา เชน คารเบนดาซิม (carbendazim®) วาลิดามัยซิน (validamy-

      บทที่ 1   cin®) โพรพิโคนาโซล (propiconazole®) แมนโคเซบ (mancozeb®) ซึ่งใชสำหรับการควบคุม

           โรคขาว (Boukaew et al. 2013) นอกจากนั้นคาร์เบนดาซิม และโพรพิโคนาโซล ยังนิยมใชสำหรับ

           การควบคุมโรคในขาวโพดดวย (Wegulo et al. 1998) สวนการควบคุมโรคออยนิยมใชบาวิสติน

           (Bavistin®) และบลิท็อก (Blitox®) (Vishwakarma et al. 2013) สำหรับการควบคุมทางชีวภาพของ

           โรคพืช เปนการลดจำนวนหรือการกำจัดประชากรของเชื้อกอโรคพืชโดยสิ่งมีชีวิต (Heimpel and

           Mills 2017) จุลินทรียหลายชนิดสามารถใชเปนตัวควบคุมทางชีวภาพ (biological control agent) ซึ่ง

           เมื่อนำไปใชกับพืชสามารถควบคุมเชื้อกอโรคพืชโดยผานกลไกการควบคุมหรือกลไกการเปนปฏิปกษ

           ที่หลากหลายดังที่จะอธิบายในบทตอไป การทำความเขาใจเกี่ยวกับกลไกการควบคุมของตัวควบคุม

           ทางชีวภาพ เปนสิ่งสำคัญที่ทำใหสามารถควบคุมโรคไดอยางเหมาะสม นอกจากนั้นยังชวยลดความ
                                                                                                 
           เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษยและสิ่งแวดลอม ตลอดจนเกิดเชื้อที่ตานทานตอจุลินทรียที่ใชเปนตัว

           ควบคุมทางชีวภาพ (Köhl et al. 2019)  การนำจุลินทรียที่คัดเลือกวามีความสามารถในการตอตาน

           เชื้อกอโรคไดอยางมีประสิทธิภาพ และสามารถเพิ่มจำนวนจนมีความเขมขนสูงบนอาหารสังเคราะห

           ไปใสครั้งเดียวหรือหลายครั้งในระหวางการเพาะปลูกพืช เรียกวา การควบคุมทางชีวภาพแบบ

           เพิ่มขยาย (augmentative biological control) (Heimpel and Mills 2017; van Lenteren et al. 2018)



           การใชยีสตในการควบคุมโรคผลไมหลังการเก็บเกี่ยวที่เกิดจากรา


                     ความสูญเสียเนื่องจากโรคหลังการเก็บเกี่ยว (postharvest disease) อาจเกิดในชวงใดก็ได
                                                                                                   
           ระหวางการเก็บเกี่ยวจนถึงการบริโภค โรคหลังการเก็บเกี่ยว อาจจะเกิดกับสวนผล เมล็ด และ

           สวนอื่น ๆ ตลอดจนเกิดกับผัก การติดเชื้ออาจเกิดตั้งแตอยูในแปลงเพาะปลูก ไร หรือสวน การเสีย

           หลังการเก็บเกี่ยวซึ่งอาจเปนการเนา การสูญเสียสารอาหาร และการสูญเสียน้ำ มักเกิดระหวาง

           การขนสงและการเก็บรักษากอนจัดจำหนาย เนื่องจากผลไมเปนอาหารสำหรับมนุษยที่มี

           ความสำคัญของเพราะเปนแหลงของวิตามิน ธาตุอาหาร กรดอินทรีย และสารตานอนุมูลอิสระ

           โรคหลังการเก็บเกี่ยวที่เกิดขึ้นกับผลไมมีความสำคัญเพราะทำทั้งใหปริมาณและคุณภาพของผลไม

           ลดลง ซึ่งสงผลใหเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังอาจจะทำใหเกิดความเสี่ยงตอ

           สุขภาพ เพราะมีราหลายสกุล เชน Penicillium, Alternaria และ Fusarium ผลิตสารพิษ เชน

           แอฟลาท็อกซิน ภายใตภาวะบางภาวะซึ่งอาจกอใหเกิดอันตรายกับคนและสัตวเมื่อบริโภคเมื่อมีการ

           นำผลิตภัณฑหลังการเก็บเกี่ยวที่มีการปนเปอนดวยราสรางสารพิษไปแปรรูป มีรายงานวาใน




     16  การใชยีสตสำหรับการควบคุมทางชีวภาพโรคพืชและโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวที่เกิดจากรา
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30