Page 68 -
P. 68
ิ
ื
ิ
ิ
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
46
ปลูกปาล์มน้ำมันหลักของโลก ซึ่งมีประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ในขณะที่ ประเทศ
ั
ไทยมีผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบมากเป็นอันดบ 3 ของโลก
2.4.1.1 สถานการณ์โลก
1. ผลผลิตน ำมันปาล์ม
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2559 - 2563) ผลผลิตน้ำมันปาล์มของโลกเพิ่มขึ้นจาก 58.92 ล้านตัน ในปี
พ.ศ. 2559 เป็น 73.31 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2563 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 ต่อปี โดยอาจมีบางช่วงที่ผลผลิต
ึ
ลดลงเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มข้นอีก
เป็น 76.40 ล้านตัน เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ภัยแล้งเริ่มคลี่คลาย
ทั้งนี้ ในปีการผลิต 2564/65 อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีปริมาณการผลิตน้ำมันปาล์มมากทสุดในโลก ซึ่งคิดเป็น
ี่
ร้อยละ 58.25 ของปริมาณการผลิตน้ำมันปาล์มทั่วโลก รองลงมา คือ มาเลเซียและไทย มีปริมาณการผลต
ิ
์
น้ำมันปาล์ม 19.70 และ 3.12 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 25.79 และ 4.08 ของปริมาณการผลิตน้ำมันปาลมทั่ว
โลก ตามลำดับ รวมแล้วมีผลผลิตรวม 67.32 ล้านตัน หรือร้อยละ 88.12 ของผลผลิตโลก
2. ความต้องการใช้น ำมันปาล์ม
ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มของโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2559 - 2563) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.71 ต่อปี จาก 59.38 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2559 เป็น 74.21 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2563 และคาดว่าจะมี
ความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเป็น 75.51 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากตลาดยังคงมีความต้องการใช้น้ำมัน
ปาล์มอย่างต่อเนื่องทั้งความตองการเพื่อการบริโภคและเพื่อผลตไบโอดีเซล โดยมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณความ
้
ิ
ต้องการใช้น้ำมันปาล์มในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าปริมาณการผลิต ส่งผลทำให้สต็อกน้ำมันปาล์มโลกมี
แนวโน้มลดลง และต่ำกว่า 10 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ
มาตรการป้องกัน สกัดกั้น และชะลอการแพร่ระบาดที่จะส่งผลทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบ โดยเฉพาะ
ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเพื่อพลังงานทดแทนในภาคการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ลดลงได้ ทั้งนี้ ความ
ต้องการใชปาล์มน้ำมันของประเทศต่าง ๆ เป็นดังนี้
้
• อินโดนีเซีย เป็นผู้บริโภครายใหญ่ของโลก โดยคาดว่าจะมีความต้องการใช้สูงถึง 15.22 ล้านตัน ในปี
พ.ศ. 2564 หรือคิดเป็นร้อยละ 20.16 ของความต้องการใช้น้ำมันปาล์มทั้งหมดของโลก เนื่องจาก
อินโดนีเซียมีนโยบายในการผลักดันการใช้น้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล ซึ่งจะช่วยลดการ
นำเข้าน้ำมันและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ โดยมีการคาดการณ์ว่าไบโอดีเซลของ
อินโดนีเซียจะเติบโตขึ้นอย่างมากในอนาคตส่งผลให้มีความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มมากขึ้น
้
• อินเดีย เป็นผู้บริโภครายใหญ่อันดับที่ 2 ของโลก โดยคาดว่าจะมีความตองการใช้ 8.65 ล้านตัน ในปี
พ.ศ. 2564 หรือคิดเป็นร้อยละ 11.46 ของความต้องการใช้น้ำมันปาล์มทั้งหมดของโลก เนื่องจาก
อินเดียต้องนำเข้าเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอินเดียมีการ
นำเข้าน้ำมันปาล์มคิดเป็นร้อยละ 70 ของการนำเข้าน้ำมันพืชทั้งหมด (สำนักงานส่งเสริมการค้าใน
ต่างประเทศ, 2560)