Page 73 -
P. 73
์
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
51
จากการขยายพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และสต๊อกน้ำมันปาล์มอยู่ในระดับสูง โดยสามารถ
สรุปปัจจยท้าทายด้านต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของไทยได้ ดังนี้
ั
• การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำ น
ิ
การเพิ่มขึ้นของระดบน้ำทะเล และการเกิดภัยธรรมชาตทมีความถี่และมีแนวโน้มทจะทวีความรุนแรง
ี่
ี่
ั
ยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ผลกระทบทางลบต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจาก
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากในการเจริญเติบโต หากแล้งหรือเจอภาวะ นทิ้งช่วงนานเกิน 2
ิ
ั
เดือน จะได้รับความเสียหายและมีแนวโน้มผลผลตลดลงอย่างมาก นอกจากปริมาณน้ำแล้ว ยังมีปัจจย
ของสภาพภูมิอากาศอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตของปาล์มน้ำมัน ทั้งการกระจายตัวของ น ปริมาณ
แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และลม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงจาก
การเปลยนแปลงของสภาพอากาศได้ทั้งสิ้น โลกจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบ
ี่
ของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดอุปสรรคตอ
่
การผลิตผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก (จรีวรรณ และคณะ, 2562)
• ต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มทั้งระบบของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียมาโดยตลอด และมากกว่า
ร้อยละ 10 ในบางช่วงเวลา ไทยจึงไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ในตลาดโลก (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,
2563) โดยต้นทุนปาล์มน้ำมันของไทยส่วนใหญ่เป็นต้นทุนแปรผัน เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัสดุ (ค่าพันธุ์
ปาล์ม ค่าปุ๋ย และค่ายาปราบศัตรูพืช) และค่าเก็บเกี่ยว ประมาณร้อยละ 70 - 80 ของต้นทุนรวม ส่วน
ี่
ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 - 30 เป็นต้นทุนคงท (ค่าเช่าที่ดิน ค่าภาษีที่ดิน ค่าเสื่อมอุปกรณ์) (สำนัก
ข่าวอิศรา, 2553; อัทธ์, 2563; อินทนิลและธเนศ, 2557)
• อัตราการใชกำลังการผลิตของโรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ระดับเพียงร้อยละ 40 - 50 เทียบกับ
้
มาเลเซียที่ใช้กำลังการผลิตถึงร้อยละ 75 (ณรงค์ฤทธิ์และศิรดา, 2563; ประชาชาติธุรกิจ, 2564)
้
ขณะที่ตนทุนการผลิตน้ำมันปาล์มของไทยสูงกว่าอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเป็นผลจาก
1) ผลผลิตปาล์มสดต่อไร่ของไทยเฉลี่ยที่ 2.7 ตัน (อินโดนีเซีย 2.9 ตัน และมาเลเซีย 3.3 ตัน)
2) อัตราการสกัดน้ำมัน (Oil Extraction Rate, OER) ของไทยเฉลี่ยทร้อยละ 17 - 18 (มาเลเซียและ
ี่
์
ี่
อินโดนีเซียเฉลี่ยทร้อยละ 20 และ 22 ตามลำดับ) เนื่องจากเกษตรกรไทยมักเก็บเกี่ยวผลปาลม
ก่อนสุก อัตราการให้น้ำมันจึงต่ำ
3) โครงสร้างเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของไทยส่วนใหญ่เป็นรายย่อย มีพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ย 20 -
25 ไร่ต่อราย ต่างจากอินโดนีเซียและมาเลเซียที่เป็นเกษตรกรรายใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 และมี
พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยมากกว่า 200 ไร่ต่อราย