Page 77 -
P. 77

ิ
                                                                              ิ
                                             ์
                                          ิ
                               ิ
                            ื
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           62

                       2) การสร้างแรงจูงใจ
                       โลเวลล์ (Lovell, 1980: 109) ให้ความหมายของแรงจูงใจว่า “เป็นกระบวนการที่ชักนำโน้มน้าวให้

               บุคคลเกิดความมานะพยายามเพอที่จะสนองตอบความต้องการบางประการให้บรรลุผลสำเร็จ” ขณะที่ ไมเคิล
                                          ื่
               คอมแจน (Domjan 1996: 199) อธิบายว่า “การจูงใจเป็นภาวะในการเพิ่มพฤติกรรมการกระทำกิจกรรมของ
               บุคคลโดยบุคคลจงใจกระทำพฤติกรรมนั้นเพอให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ”
                                                    ื่
                       ดังนั้น การจูงใจเป็นกระบวนการที่บุคคลถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้

               บรรลุจุดประสงค์บางอย่างซึ่งจะเห็นได้พฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจเป็นพฤติกรรมที่มิใช่เป็นเพียงการ
               ตอบสนองสิ่งเร้าปกติธรรมดา ซึ่งในที่นี้จะนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างแรงจูงใจมิให้ผู้ที่ได้รับสิทธิในการ

               จัดสรรที่ดินไม่ให้มีการโอนย้ายเปลี่ยนมือ หรือสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่ได้รับสิทธิจากการจัดสรรที่ดินนำที่ดินไปใช้
               ประโยชน์ให้เกิดสูงสุด เช่น

                       -  การให้โควตาการขายสินค้าเกษตรกับหน่วยงานของรัฐ ในอัตราสูงกว่าเกษตรกรรายอื่น ร้อยละ

                           X จากราคาที่นโยบายกำหนด (กรณีที่รัฐบาล subsidy สินค้าเกษตรชนิดนั้น ๆ)
                       -  การให้สิทธิในการขอรับเงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อทำการเกษตร กับธนาคารเพื่อการเกษตร

                           และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ทั้งนี้การให้สิทธิพิเศษเพอเป็นแรงจูงใจมิให้ผู้ที่ได้รับจัดสรรที่ดินมี
                                                                        ื่
                           การโอนเปลี่ยนมือหรือขายต่อ จะต้องมีการตรวจสอบเอกสารการถือครองที่ดินโดยละเอียดเพอ
                                                                                                        ื่
                           ป้องกันมิให้มีการแอบอ้างสิทธิดังกล่าว


               3.2   กฎหมาย และระเบียบ

               3.2.1  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

                       ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติในกฎหมาย

               กฎหมาย หรือข้อบังคับอื่นใด หรือการกระทำใด ๆ ที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจะใช้บังคับมิได้ ดังนั้น การ

               ออกกฎหมายหรือการดำเนินการใด ๆ จะต้องคำนึงถึงบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ กรณีการจัดที่ดิน
               ทำกินให้ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงต้องสอดคล้องตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ใน

               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องดังนี้
                       หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

                       มาตรา 25 วรรคสอง สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือให้
               เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ แม้ยังไม่มีการตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคลหรือ

               ชุมชนย่อมสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

                       มาตรา 43  บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ
                       (1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดี

               งามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82