Page 73 -
P. 73

ิ
                                          ิ
                                                                  ิ
                            ื
                                                                              ิ
                                             ์
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           58

               เป้าหมายหรือตกลงดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดร่วมกันแต่มีสายสัมพันธ์ระหว่างกันตามธรรมชาติ  ซึ่ง
                                                                                                     61
               ความหมายทั่วไปที่ปรากฎในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คำว่า “ชุมชน” หมายถึง หมู่ชน

               กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน

                       Mumford (1937: quoted in John Stow, 2000 : 92) กล่าวว่า คุณสมบัติหลักของชุมชน
               ประกอบด้วย 2 สิ่ง คือ มีการรวมตัวกันของคนในชุมชนด้วยความซื่อสัตย์ และรวมตัวกันเพื่อประโยชน์ในการ

               อยู่ร่วมกัน และ Cook (In R. Middleton, Ed., 1996 : 212) กล่าวว่า “ชุมชน” ประกอบด้วย สถานที่และ

               กลุ่มคน ซึ่งเป็นสองสิ่งที่บุคคลในชุมชนรู้จักดี และรู้ถึงข้อดีและข้อเสียของชุมชน การให้นิยามในลักษณะนี้มอง
               ชุมชนในเชิงระบบ คือ มีทั้งระบบรวม และระบบส่วนบุคคล

                                                                              62
                       ในการประชุมประจำปีว่าด้วยชุมชน ครั้งที่ 1 ปาริชาติ วลัยเสถียร  ได้ให้ความเห็นว่า การนำคำว่า
               “ชุมชน” มาใช้ในประเทศไทยนั้น ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากการพัฒนาของชาติตะวันตก ที่เผยแพร่มา

               พร้อมกับแนวคิดการพัฒนา ซึ่งแนวคิดดังกล่าวในระยะแรกไม่ได้พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน รัฐ

                                                                                                        ิ่
               ระบบทุน และโครงสร้างอำนาจ ตลอดจนผลประโยชน์ในชุมชน จึงนำไปสู่ปัญหาความออนแอของชุมชนที่เพม
                                                                                       ่
               มากขึ้น แต่ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เกิดองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ซึ่งเน้นหลักการปฏิบัติงานที่กระบวนการ
               เรียนรู้ของทุกฝ่ายในชุมชน ทำให้ชุมชนได้รับการตีความใหม่ ให้มีนัยของพลังสร้างสรรค์และทุนทางสังคมด้วย
                                                                              ั
               และในสังคมไทย แม้คำว่า “ชุมชน” จะเป็นคำใหม่ แต่สาระของชุมชนอยู่คู่กบสังคมไทยมานานแล้ว โดยเราใช้
               คำว่า “บ้าน” หรือ “หมู่บ้าน” ก่อนที่จะมีคำว่า “ชุมชน”

                       นอกจากนี้ มีแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรร่วม ของ Elinor Ostrom นักเศรษฐศาสตร์
               รางวัลโนเบล เชื่อว่าชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรร่วมได้ โดยจะต้องดำเนินการตามกติกา 8 ข้อ ดังนี้ 1)

               ความชัดเจนของขอบเขต 2) ความสอดคล้อง 3) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 4) การสอดส่องดูแล 5)

               บทลงโทษ 6) การจัดการความขัดแย้ง 7) รัฐรับรู้และให้สิทธิการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน และ 8) ความ
               เชื่อมโยงของกติกาและการจัดการ

                       ตามกฎหมายไทยไม่มีการรับรองสถานภาพทางกฎหมายของชุมชนได้อย่างชัดเจน แต่จะให้
               ความสำคัญกับสิทธิของปัจเจกบุคคลและสิทธิของรัฐเป็นสำคัญ กฎหมายฉบับแรกที่แสดงให้เห็นถึงความ

               พยายามในการรับรองสิทธิของชุมชนคือ พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 ที่บัญญัติถึงการมี

               ส่วนร่วมของชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งระดับการมีส่วนร่วมนั้นเป็นเพียงการมี
               ส่วนร่วมในการจัดการเท่านั้น หาได้ขยายความถึงการได้ประโยชน์ในลักษณะของส่วนแบ่งไม่  อย่างไรก็ตาม
                                                                                            63
               กฎหมายดังกล่าว ก็ไม่ได้กล่าวถึงชุมชนไว้อย่างชัดเจน






               61  กิตติศักดิ์ ปรกติ. 2550. สิทธิของบุคคลซงรวมกันเป็นชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. หน้า
                                               ึ่
               9.

               62  ปาริชาติ วลัยเสถียร (2543): 1-14, 30-31) อ้างในอิทธิพล (2550) หน้า 7.
               63  วิชช์ จีระแพทย์. 2553. มองย้อนแนวคิดสิทธิชุมชนของไทย. จุลนิติ พ.ค. - มิ.ย. 53. หน้า 39.
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78