Page 76 -
P. 76

ิ
                                                                  ิ
                                                                              ิ
                                             ์
                            ื
                               ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           61

                                      66
                       การถอครองทรัพย์  อาจแบ่งได้เป็น
                           ื
                       (1) ทรัพย์ที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ กรณีนี้รัฐต้องออกกฎหมายกำหนดเงื่อนไขว่าใครจะเป็นผู้ที่ได้เป็น
               เจ้าของโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโดยหลักแล้วจะใช้หลักผู้ค้นพบหรือผู้ครอบครองก่อน

                       (2) รัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (state or public property) ในการดูแลรักษาทรัพย์ดำเนินการโดย
               พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหน้าที่และอำนาจไว้ โดยที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องไม่มีผลประโยชน์

               ส่วนตัวทับซ้อนหรือเกี่ยวข้อง ทรัพย์ประเภทนี้ปัจเจกชนจะเข้าครอบครองเป็นเจ้าของไม่ได้ แม้ว่าจะเข้าไปใช้

               ชั่วคราวก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ของรัฐสูญสิ้นไป
                       (3) เจ้าของร่วม (common property) อาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบการถือครองทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ

               มากที่สุด การจัดการต้องดำเนินการผ่านตัวแทน ซึ่งถูกตรวจสอบโดยกลุ่มอย่างใกล้ชิด ปัญหาก็คือถ้ากลุ่มมี
               ขนาดใหญ่หรือเจ้าของกลุ่มไม่สนใจจะเกิดมีปัญหาผู้แอบอ้างใช้ฟรี (free rider) คือผู้ที่ใช้ประโยชน์อย่างเดียว

               แต่ไม่ร่วมแรงร่วมใจดูแลรักษา ดังนั้นต้องมีเกณฑ์ในการใช้และบริหาร เช่น (1) จะต้องมีเกณฑ์ร่วมกันในการ

               เรียนรู้และการถ่ายทอดของทุกคน (2) เน้นภูมิปัญญาการอยู่ร่วมกัน (3) ส่งเสริมความร่วมมือและความ
               ไว้วางใจในบรรดาสมาชิก (4) ลดค่าใช้จ่ายในการบังคับกฎเกณฑ์ บังคับการ ป้องกันคนภายนอกไม่ให้เข้ามา

               ใช้  ซึ่งหลักการใช้ประโยชน์ทรัพย์ส่วนรวมนี้เป็นข้อเสนอของ Elinor Ostrom  ผู้ได้รับรางวัลเศรษฐศาสตร์
                 67
                                                                                 68
               ในปี 2009 ที่ศึกษาวิจัยในเชิงประจักษ์ ซึ่งมีหลักการอยู่ 8 ประการ (1) ความชัดเจนของขอบเขต (2) ความ
               สอดคล้อง (3) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (4) การสอดส่องดูแล (5) บทลงโทษ (6) การจัดการความขัดแย้ง

               (7) รัฐรับรู้และให้สิทธิการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน และ (8) ความเชื่อมโยงของกติกาและการจัดการ
                       (4) ทรัพย์สินที่เป็นของส่วนบุคคล (private property) ที่กฎหมายรับรองให้ปัจเจกเป็นเจ้าของ ซึ่ง

               ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นการถือครองที่ดีรองลงไปจากทรัพย์ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

                       การทำให้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองมีความถูกต้องตามกฎหมายอย่างชัดเจนมีความสำคัญ
               กล่าวคือ หากสิทธิในทรัพย์สินไม่มีการระบุตามกฎหมายอย่างชัดเจนก็จะไม่มีเจ้าของที่มีอำนาจตามกฎหมาย

               ในการควบคุมจัดการ นอกจากนี้ หากสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ไม่มีการกำหนดกฎกติกาไว้อย่างชัดเจน
               อาจเกิดกรณีการใช้สิทธิเกินส่วนหรือมีการแอบอางโดยบุคคลอื่น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรับรอง
                                                        ้
               สิทธิในทรัพย์สินคือ การที่ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองสามารถหาประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้ ทั้งนี้

               เพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจในการบำรุงรักษาและปรับปรุงพัฒนาทรัพย์นั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด







               66  สรุปความมาจาก ธรรมนิตย์. หน้า 21-22.
               67  อภิชัย พันธเสน. 2544. พุทธเศรษฐศาสตร์ : วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ. พิมพ์
               ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์. หน้า 668.

               68  Elinor Ostrom. 1990. “Governing the Commons: The evolution of institutions for collective action”.
               Cambridge University Press.
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81