Page 74 -
P. 74
์
ื
ิ
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
59
สิทธิชุมชน ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งบัญญัติ
ทั้งสิทธิในการบริหารจัดการและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร กล่าวคือ ในมาตรา 46 บัญญัติว่า
“บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ
หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” และใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 66 บัญญัติว่า “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน
ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” มีข้อสังเกต
ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์อาจไม่ต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้
สำหรับในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติ
ไว้ในมาตรา 43 ว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ (1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ (2) จัดการ บำรุงรักษา และใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตาม
วิธีการที่กฎหมายบัญญัติ…” ซึ่งมีข้อสังเกตว่าในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้จำแนกไว้อย่างชัดเจนว่า กรณีเป็นการ
บริหารจัดการวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามวิธีการของ
กฎหมาย แต่หากกรณีเป็นการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติจะต้องเป็นตามตามวิธีการที่
กฎหมายบัญญัติไว้
อย่างไรก็ตาม แม้คำว่า “ชุมชน” จะมีปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
จะได้มีการกล่าวถึงสิทธิชุมชนเป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้มีการให้ความหมายไว้ จนกระทั่งได้มีการนิยามไว้ใน
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 ว่า “ชุมชน” หมายความว่า กลุ่ม
ประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อการจัดการด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้ง
การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีการวางระบบบริหารจัดการและการ
แสดงเจตนาแทนกลุ่มได้ โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้
บังคับ
ดังนั้น จะเห็นว่า คำว่าชุมชน เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้างและยังไม่มีความหมายที่ชัดเจน
โดยทั่วไป ในขณะที่ สิทธิชุมชน ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่ง
ในแง่ของสิทธิเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชนมีสิทธิทั้งในการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้
จะต้องเป็นไปตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด
5) แนวคิดภูมิสังคม
คำว่า “ภูมิสังคม” (Social Geography) หรือ Geosocial หมายถึง ความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ทั้ง
ทางด้านภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ชีวภาพ วิถีชีวิต ประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม (English-Thai :