Page 69 -
P. 69
์
ิ
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
54
- กฎหมายจะต้องได้รับการประกาศใช้อย่างเปิดเผย
- กฎหมายจะต้องได้รับการตราขึ้นให้มีผลบังคับไปในอนาคต ไม่ใช่ตราขึ้นเพื่อใช้บังคับย้อนหลังไป
ในอดีต
- กฎหมายจะต้องได้รับการตราขึ้นโดยมีข้อความที่ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการบังคับใช้ที่ไม่
เป็นธรรม
- กฎหมายจะต้องไม่มีข้อความที่ขดแย้งกันเอง
ั
- กฎหมายจะต้องไม่เรียกร้องให้บุคคลปฏิบัติในสิ่งที่ไม่อาจเป็นไปได้
- กฎหมายต้องมีความมั่นคงตามสมควร แต่ก็จะต้องเปิดโอกาสให้แก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพของ
สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
- กฎหมายที่ได้รับการประกาศใช้แล้วจะต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน กล่าวคือ ต้อง
บังคับการให้เป็นไปตามเนื้อหาของกฎหมายที่ได้ประกาศใช้แล้วนั้น
นอกจากนี้ มีนักวิชาการของไทยที่กล่าวถึงความหมายของหลักนิติธรรม เช่น
ศาสตราจารย์ ดร. ประยูร กาญจนดุล เรียก The Rule of Law ที่ใช้ในประเทศไทยว่า “นิติธรรม
ไทย” โดยอธิบายว่า หลักอันเป็นพื้นฐานในการที่จะบัญญัติกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม หรือความ
ยุติธรรมขึ้นในบ้านเมืองโดยใช้กฎหมายเป็นหลัก หลักนิติธรรมไทยจึงหมายถึงหลักนิติธรรมที่เป็นหลักพื้นฐาน
ในการบัญญัติกฎหมายไทยให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม
ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เรียก “The Rule of Law” ว่า “ระบบกฎหมาย” แต่มิใช่ระบบ
ในความหมายของการจัดหมวดหมู่ บางครั้งก็ใช้คำว่า “การนับถือกฎหมาย” ซึ่งสื่อความได้ดีว่าการใช้กฎหมาย
เป็นหลักยิ่งกว่ายึดตัวบุคคลและมุ่งให้ทุกคนยอมรับกฎหมายดังที่อธิบายว่า “ระบบกฎหมาย” (หลักนิติธรรม)
หรือความนับถือกฎหมาย
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ เรียก หลักนิติธรรม ว่า “กฎของกฎหมาย” และอธิบายว่า “ยังมีสิ่งที่อยู่
เหนือบทบัญญัติของกฎหมายบรรดาที่รัฐสภาบัญญัติขึ้นตามวิถีทางรัฐธรรมนูญนั้นอยู่อีก ซึ่งในปัจจุบันเข้าใจ
กันโดยทั่วไปว่า “หลักนิติธรรม”
โดยหลักนิติธรรมนี้ ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในมาตรา 3
วรรค 2 ว่า “รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม
รัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชน
โดยรวม” ซึ่งจะใช้เป็นหลักในการออกฎหมายหรือการนำกฎหมายไปปฏิบัติ
2) หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คำว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เริ่มใช้กันแพร่หลายในรายงานยุทธศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์โลกปี ค.ศ.
1950 ซึ่งรายงานฉบับดังกล่าวได้ร่วมกันจัดทำขึ้นโดยสหภาพนานาชาติ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและ