Page 67 -
P. 67

ิ
                                          ิ
                                             ์
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                  ิ
                            ื
                                                           52

               (Implementation Analyses) วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้ทั้งสองวิธีก็ได้ โดยทำการประเมินผลสรุป (Summative
               Evaluation) หรือประเมินระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation)

                       สำหรับวิธีการประเมินผลโครงการ มีนักวิชาการได้นำเสนอไว้หลายรูปแบบ โดยแนวทางที่จะใช้ใน

               การศึกษานี้ คือ วิธีการประเมินผลของ Daniel L. Stufflebeam ที่เรียกว่า “CIPP Model” ซึ่งเป็นแนวทางที่
               ได้รับการยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน โดยมีประเด็นการประเมินแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

                       (1) ประเมินด้านบริบทสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) พิจารณา และวิเคราะห์บริบท

               สภาพแวดล้อมของโครงการเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญ เกี่ยวกับความจำเป็นของผู้ได้รับผลประโยชน์
               (Beneficiaries’ needs) ความต้องการ (Need) ปัญหา (Problem) คุณสมบัติที่มีค่า (Asset) และโอกาส

               (Opportunities) รวมถึงประเมินพลวัตรการเมือง (Political dynamics) ด้วย เพื่อออกแบบโครงการ กำหนด
               วัตถุประสงค์ของโครงการ (Goal-setting tasks) แผนงาน พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ ความ

               สอดคล้องกับนโยบายขององค์การหรือนโยบายของหน่วยงาน ความเป็นไปได้ที่จะได้รับการสนับสนุนจาก

               หน่วยงานอื่น ๆ
                       (2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) เป็นการวิเคราะห์เพื่อใช้ข้อมูล ตัดสินใจต่อ

               ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการว่าเหมาะสมหรือไม่ ความพอเพียงและความเหมาะสมของทรัพยากรต่าง
               ๆ ว่ามีส่วนช่วยให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งมักจะประเมินด้านต่าง ๆ คือ ความพร้อมและ

               ความสามารถของหน่วยงานหรือคือตัวแทนในการจัด โครงการ การบริหารจัดการ กิจกรรม ทางเลือกที่ระบุใน

               โครงการ การเลือกกลยุทธ์ (strategies) และยุทธวิธีที่ใช้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ การได้รับความ
               ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้โครงการดำเนินไปได้ เช่น หน่วยงานที่จะช่วยเหลือ ทั้งในด้านงบประมาณ

               บุคลากร สถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ มีความเป็นไปได้และเหมาะสมเพียงใด

                       (3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) เป็นการประเมินระหว่างดำเนินโครงการ
               เพื่อหาข้อดี ข้อบกพร่องของการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่กำหนดไว้  ว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่

               กำหนดไว้หรือไม่ กิจกรรมใดทำได้หรือทำไม่ได้ เพราะเหตุใด  มีอุปสรรคและปัญหาอะไรบ้าง มีการแก้ไข
               ปัญหาอย่างไร การประเมินในส่วนนี้จะมีประโยชน์อย่างมาก ในเชิงการพัฒนาและการออกแบบนโยบาย

               โดยเฉพาะการประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation)

                       (4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) เป็นการประเมินเพื่อดูว่าผลที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุด
               โครงการประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือตามที่คาดหวังไว้หรือไม่  โดยอาศัยข้อมูลจากการประเมิน

               สภาพแวดล้อม (Context) ปัจจัยเบื้องต้น (Input) และกระบวนการ (Process) ร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบว่า
               เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือไม่ คุณภาพของผลลัพธ์ เป็นอย่างไร เกิดผลกระทบหรือผลข้างเคียง

               หรือไม่


                       2) การวิเคราะห์ต้นทุน – อรรถประโยชน์

                       การพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการจัดสรรที่ดินให้กับผู้ยากไร้ จำเป็นต้องคำนึงถึงผลประโยชน์และ

               ต้นทุนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในทางเศรษฐศาสตร์การประเมินโครงการว่าโครงการใดจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอาจ
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72