Page 68 -
P. 68
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
53
จำเป็นต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบทั้งด้านต้นทุนและผลของโครงการว่าให้ผลคุ้มค่าหรือไม่ หากแต่ข้อจำกัด
ของการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการนั้น ๆ จะต้องสามารถคิดค่าเป็นตัวเงินได้ซึ่งอาจมีความ
ยุ่งยากในทางปฏิบัติได้
อย่างไรก็ตาม มีแนวทางในการประเมินโครงการอีกรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ การวิเคราะห์ต้นทุน –
อรรถประโยชน์ (Cost – Utility Analysis) เป็นหลักการวิเคราะห์วิธีเดียวกับการวิเคราะห์ต้นทุนและ
ผลประโยชน์ เพียงแต่วิธีการคิดมูลค่าของผลประโยชน์จะไม่ใช้หน่วยเงิน แต่ใช้วัดจากอรรถประโยชน์หรือ
ความพึงพอใจแทน ซึ่งวิธีการดังกล่าวมักจะใช้ประเมินในโครงการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต
(Quality of Life) ซึ่งผลการวิเคราะห์มักจะสรุปในรูปแบบของต้นทุนต่อหนึ่งวัน/ปี ที่ทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
อันเป็นผลมาจากการดำเนินงานของโครงการนั้น ๆ หากแต่ความยากในการแปลงผลของโครงการคือ การ
แปลงผลของโครงการให้อยู่ในหน่วยวัดเชิงคุณภาพ
3.1.2 ด้านกฎหมายและสังคม
แนวคิดด้านกฎหมายและสังคมที่นำมาปรับใช้แก่การวิเคราะห์ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักการพัฒนา
อย่างยั่งยืน หลักการกระจายการถือครองที่ดิน สิทธิชุมชน และแนวคิดภูมิสังคม
1) หลักนิติธรรม
หลักนิติธรรม เป็นหลักพื้นฐานของทางกฎหมาย สำหรับการปกครองและบังคับใช้กฎหมายภายใต้การ
ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เพื่อประกันให้เกิดความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ผู้อยู่ภายใต้
การปกครองได้อย่างแท้จริง ดังนั้น หลักนิติธรรม คือ ความคาดหมายได้ของการกระทำของรัฐ ความชัดเจน
ของกฎหมาย ความมั่นคงของกฎหมายความเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายความเป็นอิสระของศาลการ
เคารพในหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติตลอดจนความสะดวกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
ในวงวิชาการต่างประเทศ มีนักวิชาการที่ได้ความหมายของหลักนิติธรรมไว้ เช่น
Joseph Rez เสนอในปี ค.ศ. 1977 ว่า หากหลักนิติธรรมเป็นเพียงการปกครองโดย กฎหมายก็ไม่มี
ความหมาย ต้องมีหลักทั่วไปเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานบางอย่างประกอบด้วย
Jeffrey Jowell สรุปว่าหลักนิติธรรมจะเป็นหลักเกี่ยวกับกลไกการใช้กฎหมาย (Procedure) ตั้งแต่
วิธีการควบคุมดุลพินิจการวางหลักให้การใช้อำนาจของฝ่ายปกครองต้องมีฐานทางกฎหมายและการกำหนด
กระบวนการในการออกกฎหมายหรือคำสั่ง แต่ขณะเดียวกันหลักนิติธรรมจะต้องเกี่ยวข้องกับสาระของการ
กระทำต่าง ๆ ของฝ่ายปกครองด้วย อันเป็นเรื่องในทางสาระบัญญัติ (Substance) โดยหลักนิติธรรม ก็คือ
หลักรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนั่นเอง
Lon L. Fuller นักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน อธิบายลักษณะของกฎหมายที่จะช่วยสร้างให้
เกิดการปกครองตามหลักนิติธรรม ว่ากฎหมายที่จะทำให้หลักนิติธรรมปรากฏเป็นจริงได้นั้นต้องมีลักษณะ
สำคัญ คือ
- กฎหมายจะต้องบังคับเป็นการทั่วไปกับบุคคลทุกคน ไม่เว้นแม้แต่องค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐ