Page 70 -
P. 70

ิ
                                             ์
                            ื
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                  ิ
                               ิ
                                                           55

               ทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for the Conservation of Nature and Natural Resources:
               IUCN) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติและกองทุนโลกเพื่อธรรมชาติ (World Wide Fund for

               Nature: WWF) ประเด็นที่สำคัญของรายงานปี ค.ศ. 1987 คือ “อนาคตร่วมกันของเรา” (Our Common

               Future) ซึ่งได้ให้คำจำกัดความของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เป็นครั้งแรกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ รูปแบบ
               การพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันหรือเป็นการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการ

               ของคนในปัจจุบัน โดยไม่ขัดขวางความสามารถของคนรุ่นต่อไปในอนาคตที่จะพัฒนาตนเองตามที่ตนต้องการ”

               โดยหลักการนี้ ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ เชื่อมั่นว่าทุกประเทศจะพฒนาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบ
                                                                       ั
               ที่ยั่งยืน

                       การพัฒนาอย่างยั่งยืน เริ่มต้นจากการประชุมสหประชาชาติ ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1992 จัดขึ้น ณ กรุงริ
               โอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล โดยที่ประเทศสมาชิกได้เห็นชอบให้ประกาศหลักการแห่งสิ่งแวดล้อม และ

               แผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) เพื่อเป็นแผนแม่บทของโลกในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง

               ยั่งยืนทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สำหรับทศวรรษ 1991 – 1999 และศตวรรษที่ 21 ต่อมาจึง
               ได้มีการจัดทำเป้าหมายจำนวน 8 เป้าหมาย โดยครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ. 2543 – 2558) การ

               ดำเนินงานตามเป้าหมายดังกล่าวได้สิ้นสุดลงโดยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้เกิดความ
               ต่อเนื่อง องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายขึ้นใหม่ภายใต้กรอบแนวคิดในการพัฒนาทั้งมิติในด้าน

               เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างเชื่อมโยงกัน เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable

               Development Goals (SDGs) เมื่อเดือนกันยายน 2558 ผู้นำจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ รวมถึง
               ประเทศไทย ได้ร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 70 และได้ร่วมรับรองร่างเอกสารเป้าหมาย

               การพัฒนาอย่างยั่งยืนหลังปี พ.ศ. 2558 เพื่อใช้เป็นทิศทางการพัฒนาของประชาคมโลก ในอีก 15 ปีข้างหน้า

               นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2573 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
               ประกอบด้วย 17 (Golds) เป้าหมาย 169 เป้าประสงค์ (Targets) โดยเป้าหมายต่าง ๆ ประกอบด้วย

                       เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่
                       เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหาร ปรับปรุงโภชนาการ และสนับสนุน

               การทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

                       เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพ และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย
                       เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันให้การศึกษามีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและครอบคลุม และส่งเสริม

               โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน
                       เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิง

                       เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันให้มีน้ำใช้ และมีการบริหารจัดการน้ำและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน

               สำหรับทุกคน
                       เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่ย่อมเยา และยั่งยืน

                       เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และครอบคลุม และการจ้างงานเต็มอตรา
                                                                                                      ั
               และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75