Page 66 -
P. 66
์
ิ
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
51
บทที่ 3
แนวคิด กฎหมาย และนโยบายที่ใช้ในการวิเคราะห์
ตามการศึกษาในบทที่ 2 ได้มีการระบุปัญหาและข้อจำกัดในการจัดที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรรมให้
ชุมชน ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุผลตามนโยบายว่าด้วยการจัดที่ดินทำกินให้ชมุชนของ คทช. โดยสรุปได้
ว่าประเด็นปัญหาที่สำคัญมีอยู่สองประการคือ ประการแรก คือ ปัญหาและข้อจำกัดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัด
ที่ดินทำกินให้ชุมชนในป่าสงวนแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการที่ดินและ
การมีส่วนร่วม และการแก้ไขปัญหาความยากไร้ และประการที่สอง คือ ปัญหาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ในบทที่ 3 นี้ จึงจะได้ทำการทบทวนแนวคิด กฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะวางกรอบแนว
ทางการรวบรวมข้อมูลในพื้นที่เป้าหมายในบทที่ 4 และเพื่อการวิเคราะห์ผลในบทที่ 5 ต่อไป
3.1 แนวคิดทฤษฎี
ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเพื่อให้เกิดผลและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และเกิดความสมดุลทั้ง
ในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับนโยบาย กฎหมาย กฎ ระเบียบ ตลอดจนการนำ
นโยบายและกฎหมายไปปฏิบัตินั้น จะต้องคำนึงหลักการที่สำคัญต่าง ๆ ทั้งในเชิงกฎหมายและสังคม ซึ่ง
เกี่ยวข้องกับการออกมาตรการบังคับ การส่งเสริม หรือการพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม หลักการเชิง
เศรษฐศาสตร์ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมให้การอนุรักษ์และการพัฒนาวิถีชีวิตของชุมชนและ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ โดยการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ผ่านแนวคิดการประเมินผล
โครงการที่เหมาะสมเพื่อการวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม
3.1.1 ด้านการประเมินโครงการ
แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษานี้ มีลักษณะเป็นการประเมินโครงการ กล่าวคือ การจัดที่ดิน
ทำกินให้ชุมชนตามนโยบาย คทช. เพื่อระบุปัญหา อุปสรรค และประเมินว่าโครงการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ที่วางไว้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่เป็นปัญหาและข้อจำกัดในมิติต่าง ๆ และเสนอแนะแนวทางใน
การปรับปรุงต่อไป ดังนั้น แนวคิดการประเมินโครงการที่อาจนำมาปรับใช้แก่กรณีนี้ ได้แก่
1) การประเมินผลแบบ CIPP Model
แนวคิดการวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) เป็นการประยุกต์ใช้วิธีวิทยาการวิจัย
ื่
(Research Methodology) ในลักษณะที่เป็นระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบ เพอ
เปรียบเทียบการดำเนินโครงการกับเป้าหมายที่วางไว้ วินิจฉัยและปรับปรุงการวางแผน การติดตามผล
ประสิทธิผล และประสิทธิภาพ ทั้งโครงการที่ดำเนินไปแล้วและโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ การวิจัยเชิง
ประเมินผลจะเน้นถึงการรวบรวม ประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ
บางอย่าง โดยอาจใช้วิธีการศึกษาแบบพรรณนา (Description Studies) หรือแบบการวิเคราะห์