Page 75 -
P. 75

ิ
                            ื
                                             ์
                                          ิ
                                                                  ิ
                               ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           60

               Longdo Dictionary) เป็นคำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงใช้เป็นหลักการทรงงาน
               ที่ว่า “การพัฒนาใด ๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับ

                                                                           ี่
               ลักษณะนิสัยใจคอของคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นทมีความแตกต่างกัน” ดังพระราชดำรัส
               ความหนึ่งว่า “...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ใน
               สังคมวิทยา คือนิสัยใจคอของคนเราจะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เราไปช่วยโดยที่จะ

               คิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้ แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริง ๆ แล้วก็อธิบายให้เข้าเข้าใจ

               หลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง...”  ดังนั้น การศึกษาวิถีชีวิตของคนในชุมชนหนึ่งๆ ต้อง
                                                              64
               ให้ความเคารพและสอดคล้องกับ “ภูมิสังคม”

                       คำว่า “ภูมิสังคม” ได้ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ซึ่งถูกบัญญัติไว้
               ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 11 ซึ่งบัญญัติว่า “นโยบายและ

               แผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ… ต้องกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางในการ

               พัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึง… หลักภูมิสังคม…”


               3.1.3  ด้านเศรษฐศาสตร์

                       แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ที่นำมาปรับใช้แก่การวิเคราะห์ ได้แก่ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์กับสิทธิใน
               ทรัพย์สิน และการสร้างแรงจูงใจ



                                                             ์
                       1) แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์กับสิทธิในทรัพยสิน
                       ตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มองว่า สาเหตุที่ต้องมีการสร้างสิทธิในทรัพย์สินก็เพื่อ (1) เพื่อเป็น

               แรงจูงใจที่จะให้มีการสร้างงานและจูงใจที่จะรักษาปรับปรุงพัฒนาทรัพย์นั้น เช่น เพื่อที่จะปลูกพืช สร้าง
               ประโยชน์ในที่ดิน พัฒนาที่ดิน เช่น ป้องกันดินกัดกร่อน และเพื่อที่จะโอนต่อไปได้ เมื่อเจ้าของไม่ต้องกำรใช้

               สอย เช่น เมื่อแก่ชรา หรือต้องการที่จะอพยพไปอยู่ที่อื่น (2) เป็นการช่วยสร้างความมั่งคั่งของสังคม (public

               welfare) จากการที่ทำให้มีการใช้ทรัพย์อย่างคุ้มค่า เช่น การผลิตสินค้าเพื่อการบริโภค และกระจายให้
               ผู้บริโภคต่อไป (3) เพื่อยุติการโต้แย้ง แก่งแย่ง ซึ่งสังคมไม่ต้องการให้เกิดสิ่งนี้ เพราะจะเกิดความเสียหาย ไม่

               ต้องการให้เกิดความเสี่ยงจากการถูกลักขโมยและให้มีการกระจายความมั่งคั่งได้ แทนที่จะกระจายโดยการ

               บังคับ
                    65





               64  คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. 2550. หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ:
               สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. หน้า 10-11.
               65  ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์ (LAW AND ECONOMICS): กฎหมายว่าด้วยทรัพย์ กฎหมายสัญญา

               กฎหมายละเมิดและกฎหมายสิ่งแวดล้อม. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. ความรู้เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย เล่ม 2. หน้า
               21-22.
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80