Page 81 -
P. 81
ิ
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ื
66
เก็บหาของป่าหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ (มาตรา 14) แต่มี
ข้อยกเว้นให้ประชาชนสามารถเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยได้ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ
1) การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งและวรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 บัญญัติให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาการใช้
ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีอำนาจอนุญาตให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขต
ป่าสงวนแห่งชาติได้คราวละไม่น้อยกว่าห้าปีแต่ไม่เกินสามสิบปี ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตเป็นส่วนราชการหรือ
หน่วยงานของรัฐ จะอนุญาตโดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรก็ได้
ในการอนุญาตนั้น คณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ได้ออกระเบียบ
คณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอ
อนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2563
วัตถุประสงค์ประการหนึ่งในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายใน
เขตป่าสงวนแห่งชาติ คือ เพื่อการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล หรือตามกฎหมายว่าด้วย
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (ข้อ 9 (1)) โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มราษฎรที่รวมกันเกินกว่า 10 คนขึ้นไปที่ผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือหน่วยงานราชการอื่นรับรองและต้องเป็นนิติบุคคล เป็นผู้ยื่นคำขอ (ข้อ 6 วรรค 10)
พื้นที่ที่จะพิจารณาอนุญาตได้ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (ข้อ 11)
(1) ไม่เป็นพื้นที่ป่าซึ่งอยู่ระหว่างการใช้ศึกษาค้นคว้าทางวิชาการป่าไม้
(2) ไม่ขัดกับมาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ มาตรการการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนและ
มาตรการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้
หรือผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามมาตรการที่คณะรัฐมนตรีได้กำหนดไว้
ื้
(3) ไม่เป็นพื้นที่ที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และพนที่ชุ่มน้ำ
ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือพื้นที่แกนกลาง (Core Area) ของพื้นที่สงวนชีวมณฑล
(4) ไม่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ที่จะใช้
มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทาง
ทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งไม่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีความสำคัญและ
มีความโดดเด่นควรแก่การอนุรักษ์
(5) ไม่ขัดกับมาตรการที่กำหนดในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกฎกระทรวงหรือประกาศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(6) ไม่ขัดกับมาตรการที่กฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นพื้นที่สงวนคุ้มครองและอนุรักษ์
(7) กรณีป่าบก ต้องมีไม้ขนาดความโตวัดโดยรอบลำต้นตรงที่สูงหนึ่งร้อยสามสิบเซนติเมตรจากพนดิน
ื้
ตั้งแต่ห้าสิบถึงหนึ่งร้อยเซนติเมตร ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละแปดต้น หรือมีไม้ขนาดความโตวัด