Page 46 -
P. 46

ื
                                          ิ
                               ิ
                                             ์
                                                                              ิ
                                                                  ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           31

                       (2) ระบบกฎหมายของภาครัฐยังคงมีมุมมองเรื่องสิทธิแบบกรรมสิทธิ์ของรัฐ และกรรมสิทธิ์ของเอกชน
               รวมทั้งการรวมศูนย์อำนาจในการจัดการป่า ทำให้กฎหมายที่ตราขึ้นมาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับสิทธิและ

               อำนาจของรัฐเหนือทรัพยากรทั้งที่ดินและป่าไม้ การปรับตัวของกฎหมายทำได้ค่อนข้างล่าช้า

                       (3) ศักยภาพของผู้ถือครองที่ดินป่าไม้ ต้องยอมรับประการหนึ่งว่า ผู้ถือครองที่ดินรายย่อยในเขตป่า
               ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ยังขาดโอกาศทางสังคม มีความยากจน มีความเข้าใจในการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนจำกัด

               รวมทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบการผลิตที่เอื้อต่อการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนได้

               ทำให้เกิดปัญหาที่ดินหลุดมือ หรือการขายที่ดิน เมื่อถูกบีบคั้นจากภาวะทางเศรษฐกิจ
                       (4) รัฐธรรมนูญ ให้ความสำคัญต่อสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ

               ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
               และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มีหลักการพัฒนาประเทศที่ให้ความสำคัญกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การ

               พัฒนาอย่างยั่งยืน และคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้ลดการเปลี่ยนมือการถือ

               ครองที่ดิน และสนับสนุนให้มีการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน


               2.3.3  การจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

                       แนวคิดในการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีมาตั้งแต่หลังจากที่ประเทศไทยประสบ
               ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2550

                       จากผลการศึกษาการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์และกฎหมาย

               เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุด ของวารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ และคณะ (2543)  สรุปได้
                                                                                                  32
               ว่าองค์กรที่มีหน้าที่จัดการดูแลที่ดินของประเทศนั้นมีความหลากหลายตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็น

               สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การจัดการดูแลและใช้ประโยชน์ในที่ดินไม่เป็นเอกภาพและขาดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
               แนวทางแก้ไขคือ การวางระบบการจัดการทรัพยากรที่ดิน ปรับรูปองค์กรและกฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ที่

               จะทำให้การจัดการที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุดได้

                       คณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 มีมติเห็นชอบในหลักการแผนงานและ
                                                   ื่
               หน่วยงานหลักรับผิดชอบการดำเนินการเพอแก้ไขปัญหาที่ดินตามนโยบายการบริหารจัดการที่ดินของประเทศ
               รวม 7 แผนงาน หนึ่งในแผนงานนั้น คือ แผนงานปรับปรุงองค์กรบริหารจัดการที่ดิน

                       สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงมอบหมายให้ศูนย์บริการ
               วิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงกฎหมายคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ

               เพื่อให้มีกฎหมายในการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดการที่ดินหรือคณะกรรมการระดับชาติที่ทำหน้าที่ในการกำหนด





               32  วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ และคณะ. 2543. รายงานฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินและ

               มาตรการทางเศรษฐศาสตร์และกฎหมายเพื่อให้การใช้ประโยชน์จากที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุด”. สนับสนุนโดย สำนักงาน
               กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51