Page 41 -
P. 41
์
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
26
3) การป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติม
เมื่อมีการจัดที่ดินมีการขอบเขตแปลงที่แน่ชัด โดยหลักการแล้วการทำให้ทราบถึงขอบเขตแห่งสิทธิที่
ชัดเจนจะช่วยให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามกลไกการกำกับดูแลโดยหน่วยงานของ
รัฐ โดยขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนอาจส่งผลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงาน
ข้อสรุปดังกล่าวข้างต้น แสดงไว้ในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 สรุปข้อจำกัดของหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำให้ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
หลักการของนโยบายว่าด้วยการจัด ข้อจำกัดของหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำให้ชุมชนในเขตป่า
ที่ดินทำกินให้ชุมชน สงวนแห่งชาติ
(1) อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน - เป็นการอนุญาตให้ผู้ว่าราชการจังหวัด (มิใช่กลุ่มหรือชุมชน)
ของรัฐโดยกลุ่มหรือชุมชน - คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับจัดที่ดินพิจารณารายปัจเจกบุคคล
- ไม่มีการกำหนดบทบาทของชุมชนในการบริหารจัดการการใช้
ที่ดิน
- ไม่ต้องมีการจัดตั้งกลุ่มหรือพิจารณาถึงความเป็นชุมชนเพื่อรับ
การจัดที่ดิน
(2) แก้ไขปัญหาความยากไร้ - เกณฑ์การพิจารณาอาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ความ
ยากไร้และการแก้ไขปัญหาความยากจนตามบริบทปัจจุบัน
- ความไม่มั่นคงในการถือครองที่ดิน มีข้อสังเกตว่าจะเป็น
อุปสรรคต่อการลงทุนทำการเกษตรหรือไม่
(3) ป้องกันปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ - กลไกการกำกับดูขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน
เพิ่มเติม
2.3 งานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 กฎหมายและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดที่ดินทำกิน
การจัดที่ดินเพื่อให้ราษฎรมีที่ดินทำกิน เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ทุกรัฐบาลดำเนินการมา
โดยตลอด ในระยะเริ่มแรกเป็นการจัดตั้งนิคมสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์
24
สหกรณ์แห่งแรกเป็นสหกรณ์เช่าซื้อที่ดิน จดทะเบียนในปี พุทธศักราช 2478 โดยรับเอาที่ราชพัสดุมาจัดสรรให้
24 อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์. หนังสือ “กฎหมายเกี่ยวกับการเกษตร”. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ISBN 978-
974-03-3290-9. หน้า 79-81.