Page 43 -
P. 43

ิ
                                                                              ิ
                                          ิ
                                             ์
                               ิ
                            ื
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           28

               2.3.2  ปัญหาในการจัดที่ดินทำให้กิน

                       ปัญหาในการจัดที่ดินทำกินให้แก่ประชาชน เกิดจากโครงสร้างทางนโยบาย กฎหมาย และองค์กร
               รวมทั้งบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ประชาชนที่ถือครองที่ดินแสวงหาแนวทางในการนำที่ดินไปใช้

               ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองมากทสุด ซึ่งอาจเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการถือครองที่ดินและไม่สอดคล้องหรือ
                                               ี่
                                                                       ั
               เบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์ของนโยบายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกบการจัดที่ดิน ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
               ที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาในการจัดที่ดินทำกินให้แก่ประชานชน ได้แก  ่

                                                           28
                       อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ และคณะ (2549)  ได้ทำการศึกษาในโครงการศึกษาวิจัยและยกร่าง
               กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัญหาของการจัดที่ดินให้แก่ประชาชน เกิดจากการมี

               กฎหมายหลายฉบับ แต่ละฉบับได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดที่ดินรวมตลอดถึงการให้

               สิทธิในที่ดินและเอกสารสิทธิในที่ดินไว้แตกต่างกัน ทำให้เกิดปัญหาการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ ปัญหา
               ความลักลั่นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการในการจัดที่ดินและสิทธิในที่ดินระหว่างประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดิน ทำ

               ให้การบริหารงานขาดความเป็นเอกภาพและมีค่าใช้จ่ายสูง และก่อให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในเรื่อง

               ต่าง ๆ คือ
                       (1) เรื่องคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับสิทธิ ประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการ

               ครองชีพ พ.ศ. 2511 จัดที่ดินให้แก่ประชาชนทั่วไปที่ยากจนไม่มีที่ดินทำกิน ส่วนพระราชบัญญัติการปฏิรูป
               ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 จัดให้เฉพาะเกษตรกรหรือผู้ประสงค์จะเป็นเกษตรกร จึงมีข้อจำกัดในการจัด

               ที่ดินมากกว่า

                       (2) ขนาดของที่ดินที่จะจัดให้ ประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
               พ.ศ. 2511 กำหนดไม่เกิน 50 ไร่ ส่วนพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 กำหนด ไม่

               เกิน 50 ไร่ หรือถ้าเลี้ยงสัตว์ใหญ่ไม่เกิน 100 ไร่ หรือถ้าครอบครองที่ดินของรัฐมาก่อนให้ได้ไม่เกิน 100 ไร่ เป็น
               ต้น ขนาดที่ดินที่จัดให้จึงไม่เท่ากัน

                                                                                                     ื่
                       (3) ค่าตอบแทนที่จะเสียให้กับรัฐ ประมวลกฎหมายที่ดินมิได้กำหนด พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพอการ
               ครองชีพ พ.ศ. 2511 กำหนดเพียงค่าช่วยทุน ส่วนพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
               กำหนดให้เกษตรกรต้องจ่ายค่าเช่า หากต้องการกรรมสิทธิ์ในที่ดินต้องจ่ายค่าเช่าซื้อ

                       (4) ประเภทของที่ดินที่จะจัดให้ ประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

                                                                                                        ื่
               พ.ศ. 2511 ให้นำที่ดินของรัฐมาจัดให้ทำประโยชน์ และที่อยู่อาศัย ส่วนพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพอ
               เกษตรกรรม พ.ศ. 2518 กำหนดให้จัดที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม








               28  อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ และคณะ. 2549. รายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการศึกษาวิจัยและยกร่างกฎหมายว่าด้วยการจัด

               ที่ดิน”. ภายใต้คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารสิทธิให้มีความเป็นเอกภาพ เสนอต่อ
               สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48