Page 45 -
P. 45
ิ
์
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
30
ราชการมาขึ้นทะเบียน มีการโต้แย้งสิทธิระหว่างทางราชการกับราษฎรที่เห็นว่าตนอยู่ในที่ดินมาก่อนการสงวน
หวงห้าม เนื่องจากที่ดินดังกล่าวจำนวนหนึ่งยังมิได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไม่มีขอบเขตที่แน่นอน จึง
ต้องใช้มาตรการพิสูจน์สิทธิว่าทางราชการหรือราษฎรมีสิทธิดีกว่า ซึ่งปัจจุบันปัญหาดังกล่าวมีอยู่ในพื้นที่ของ
ทุกจังหวัด และในขณะที่กำลังพิสูจน์สิทธิการเข้าถือครองที่ดิน จึงทำให้เกิดข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่าง
ประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ จนในบางพื้นที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐได้จับกุมและดำเนินคดีราษฎรที่ทำกินอยู่ใน
พื้นที่ รวมทั้งมีการขับไล่ราษฎรออกจากพื้นที่
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร.) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย
การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 เป็นกลไกหนึ่งในการกำกับติดตามดูแลให้ ส่วนราชการต่าง
ๆ ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ มีอำนาจหน้าที่ในการ
พิสูจน์สิทธิในที่ดิน แต่ก็มีปัญหาความล่าช้าและไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินจึงพบได้เกือบทุกพื้นที่ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระหว่างภาครัฐ
ด้วยกัน หรือระหว่างภาครัฐกับประชาชน หรือในระหว่างประชาชนด้วยกัน และเป็นปัญหาที่ตกค้างมาอย่าง
ต่อเนื่อง
ธันภัทร โคตรสิงห์ (2556) ได้ทำการศึกษาการนำนโยบายโฉนดชุมชนไปปฏิบัติ ผลการศึกษา
30
ชี้ให้เห็นถึงบทเรียนจากการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ได้แก่ ความไม่ชัดเจนของเนื้อหาสาระของ
นโยบาย การขาดกฎหมายระดับพระราชบัญญัติรองรับอำนาจในการดำเนินนโยบาย ความไม่พร้อมของ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ขาดความจริงจังในการแก้ปัญหา ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะสามารถ
ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะต้องได้รับการสนับสนุน ทางการเมืองทั้งจากฝ่ายรัฐบาล
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รัชนี โพธิแท่น และคณะ (2562) ได้ทำการศึกษานโยบาย กฎหมาย และสถานการณ์ การถือที่ดิน
31
ป่าไม้ของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า มีข้อจำกัดในการรับรองสิทธิในการ
ถือครองที่ดินป่าไม้ โดยมีสาระสำคัญคือ
(1) นโยบายของภาครัฐในการรับรองสิทธิเป็นโยบายเชิงเดี่ยว มุ่งแก้ไขปัญหาหรือดำเนินการเรื่องใด
เรื่องหนึ่งเฉพาะ ขาดการมองปัญหาและการจัดการแกขปัญหาอย่างบูรณาการ กล่าวคือ มีการกำหนดระเบียบ
และเงื่อนไขการใช้ที่ดินไว้อย่างรัดกุมแต่ในเชิงปฏิบัติไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ที่ดินถูก
ขายเปลี่ยนมือ จำนวนผู้ไม่มีที่ดินทำกิน่เพิ่มขึ้นเรื่อย และประชาชนขาดความรู้ ความสามารถในการใช้
ประโยชน์ที่ดินให้เกิดความคุ้มค่า เนื่องจากรัฐไม่สามารถผลักดันให้เป็นรูปธรรมได้
30 ธันภัทร โคตรสิงห์. 2557. การนำนโยบายโฉนดชุมชนไปปฏิบัติ. หลักสูตรการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม
และสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. วารสารพัฒนาสังคม ปีที่ 16 ฉบับที่ 1/2557.
31 รัชนี โพธิแท่น และคณะ. ธันวาคม 2562. รายงานศึกษานโยบาย กฎหมาย และสถานการณ์ การถือที่ดินป่าไม้ของ
เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ. ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งแรก พิมพ์ที่: บริษัท
ไฮสปีท เลเซอร์ปรินท์ จำกัด.