Page 121 -
P. 121
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
ด้านหน้าของผู้พูดมีสิ่งหนึ่งปรากฏก่อน จากนั นจึงแยกว่าเป็นคน
และค่อยเห็นสี จากนั นจึงทราบว่าเป็นเสื อกันฝน อย่างไรก็ดี ไม่ว่า
แปลแบบใดก็ไม่สามารถคงภาพความคิดไว้ได้เท่ากับในภาษาจีน
ประโยคที่ 5 饭桌上摆着酒和几个小菜。
ประโยคนี ใช้รูปประโยคเป็น ค าบอกสถานที่ + กริยา +着
(จ านวน) + นาม ต้องใช้ค าว่า “มี” เข้ามาประกอบกับกริยา “จัด
วาง ตั ง” เป็น “บนโต๊ะอาหารมีเหล้าและกับแกล้มสองสามอย่างวาง
/ ตั งอยู่” หรือ “มีเหล้าและกับแกล้มสองสามอย่างวาง / ตั งอยู่บน
โต๊ะอาหาร” หรือจะแปลโดยละค าว่า “จัด วาง ตั ง” ก็ได้ เช่น “บน
โต๊ะอาหารมีเหล้าและกับแกล้มสองสามอย่างอยู่” “มีเหล้าและ
กับแกล้มสองสามอย่างอยู่บนโต๊ะอาหาร”
จะเห็นได้ว่า ในภาษาไทยต้องปรับประโยคแสดงการด ารงอยู่
ในกรณีที่เป็นรูปประโยคกริยาอื่นซึ่งไม่ใช่ “มี” และ “เป็น” อย่างไรก็
ดี ผู้เขียนพบการแปลตรงโดยรักษาโครงสร้าง ค าบอกสถานที่ +
กริยา +着(จ านวน) + นาม เป็นจ านวนมากในนิยายแปลประเภท
ก าลังภายใน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นงานแปลงานประเภทเดียวที่ผู้อ่าน
ยอมรับรูปประโยคที่ผิดไปจากภาษาไทยได้มาก ผู้เขียนส ารวจพบว่า
การแปลประโยคแสดงการด ารงอยู่ที่พบในนิยายก าลังภายในมักใช้ค า
ว่า “กริยา + ไว้ด้วย” เช่น “บนเรือนั นนั่งไว้ด้วยดรุณีชุดขาวนาง
หนึ่ง” ซึ่งผู้อ่านที่ไม่เคยชินกับการอ่านเรื่องจีนประเภทนี อาจรู้สึกผิด
ประหลาดมาก แต่ผู้อ่านในแวดวงนิยายก าลังภายในกลับรู้สึกเคยชิน
114 บทที่ 5 การแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษ