Page 122 -
P. 122
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
และยอมรับการแปลตรงในลักษณะนี การที่ผู้แปลแปลเช่นนี อาจเป็น
เพราะผู้แปลนิยายก าลังภายในรุ่น “ปรมาจารย์” นั นเชี่ยวชาญ
ภาษาจีน แต่อาจไม่ช านาญภาษาไทยนักท าให้แปลโดยยึดโครงสร้าง
ภาษาจีนเป็นส าคัญหรือมิฉะนั นก็เพราะชินในการใช้ภาษาแบบจีนจน
ไม่รู้สึกผิดประหลาด ผู้อ่านที่เป็น “นักเลงก าลังภายใน” ติดใจใน
ความสนุกของเนื อเรื่อง ค่อยๆ ยอมรับภาษาและชินกับ “กลิ่นอาย”
ความเป็นจีนที่ปรากฏในนิยายแปลก าลังภายใน กลายเป็นว่าภาษา
เช่นนี กลายเป็นแบบฉบับของนิยายแปลก าลังภายในในประเทศไทย
ซึ่งความแปลกเช่นนี ไม่ได้มีเพียงเฉพาะประโยคแสดงการด ารงอยู่
แต่ยังปรากฏในอีกหลายลักษณะซึ่งยังไม่ขอกล่าวถึงในที่นี สิ่งที่
ผู้เขียนสังเกตพบในฐานะนักอ่านและบรรณาธิการงานแปลคือ นัก
แปลนิยายก าลังภายในรุ่นปัจจุบัน ซึ่งมีความสามารถในการใช้
ภาษาไทยดี (สังเกตจากการอ่านเรื่องแปลประเภทอื่นของนักแปล
ท่านเดียวกัน) เมื่อแปลนิยายก าลังภายในก็ยังคงพยายามรักษา
“ขนบ” ของภาษานิยายแปลก าลังภายในไว้ด้วย ซึ่งอาจจะมาจาก
ความเคยชินหรือมาจากเกรงไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อ่าน ผู้เขียน
ติดตามความคิดเห็นของผู้อ่านในเว็บบอร์ดต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือ
แปลเรื่องจีน พบว่าผู้อ่านจ านวนมากมีแนวโน้มยึดมั่นใน “ขนบ”
ด้านภาษาของนิยายก าลังภายใน ถึงกับตัดสินนักแปลบางคนว่า
“แปลไม่ดี” เพราะ “ดูไม่เป็นจีน” พอ ลักษณะนี ปรากฏในกลุ่มผู้อ่าน
นิยายรักแนวจีนโบราณด้วยเช่นกัน แต่ไม่เข้มข้นเท่ากลุ่มผู้อ่านนิยาย
ก าลังภายใน ส่วนงานแปลเรื่องจีนประเภทอื่น เช่น งานแปลสารคดี
งานแปลนวนิยายสมัยใหม่ กลับไม่พบความคาดหวังส านวนแบบจีนๆ
บทที่ 5 การแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษ 115