Page 195 -
P. 195
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สามารถได้รับไวตามินบีต่าง ๆ จากจุลินทรีย์ในรูเมนในระดับที่เพียงพอ ส่วนไวตามินเอและดี
นั้นจำเป็นต้องได้รับจากอาหารอย่างเพียงพอจึงจะทำให้กระบวนการสร้างน้ำนมตลอดจน
คุณภาพน้ำนมเป็นไปตามปกติ
ตารางที่ 10-9 ถึง 10-15 เป็นตัวอย่างค่าความต้องการสารอาหารขั้นต่ำสุดของสัตว์แต่ละชนิด
ตามระยะการเจริญเติบโตหรือระยะการให้ผลผลิตตามคำแนะนำของ NRC ซึ่งมีการใช้กันมาก
ในประเทศไทย อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับการเลี้ยงของแต่ละ
ฟาร์ม เนื่องจากความต้องการสารอาหารของสัตว์ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ
• สภาพแวดล้อม (environment) ได้แก่อุณหภูมิ สภาพอากาศ โรงเรือนและสภาพการ
จัดการด้านอาหารในคอก สัตว์ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิดซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภาย-
นอกและภายในค่อนข้างมาก มีผลให้สัตว์มีความต้องการสารอาหารเพื่อการดำรงชีพเพื่อใช้ใน
การปรับสภาพอุณหภูมิของร่างกายมากกว่าสัตว์ที่เลี้ยงในโรงเรือนปิดที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
และความชื้นให้คงที่
• พันธุกรรม (genetic background) ได้แก่ สายพันธุ์ เพศ และศักยภาพในการให้ผลผลิต
ของสัตว์ มีผลให้ความต้องการสารอาหารแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นแม่สุกรที่ให้ลูกสุกร 25 ตัว/
ปี มีความต้องการสารอาหารสูงกว่าแม่ที่ให้ลูกเพียง 15 ตัว/ปี เป็นต้น
• สุขภาพของสัตว์ในฟาร์ม สัตว์ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์หรือมีโรค/แมลงรบกวนจะมีความ
ต้องการสารอาหารมากขึ้นเพื่อใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
• สารพิษหรือสารยับยั้งการเจริญเติบโต ที่พบในอาหารมีผลให้ความต้องการสารอาหารของ
สัตว์สูงขึ้น อาทิ สารพิษจากเชื้อรา สารยับยั้งทริฟซิน เป็นต้น
• คุณภาพของอาหารสัตว์ อาทิ ปริมาณสารอาหารที่สัตว์นำไปใช้ประโยชน์ได้ กระบวนการ
ผลิตอาหารที่เหมาะสม
• ระดับการใช้สารเสริมในอาหาร การใช้สารเร่งการเจริญเติบโต (growth promoter) มีผล
เพิ่มความต้องการสารอาหารของสัตว์ได้
ความต้องการสารอาหาร 192