Page 85 -
P. 85
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากตารางปัจจัยเชิงประสาทสัมผัสที่มีผลต่อการเลือกซื้อข้าวหอม พบว่าปัจจัยเชิงประสาทสัมผัสโดย
จ าแนกตามระดับความสามารถของการรับรู้เชิงประสาทสัมผัส รูป รส กลิ่น สัมผัส มีผลต่อการพิจารณาเลือก
ซื้อข้าวหอมของผู้บริโภคชาวจีนเฉลี่ยในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ
เมื่อท่านได้ดมกลิ่นข้าว ท่านรับรู้ได้ถึงความหอม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือเมื่อท่านเห็นข้าวแล้ว ตรง
กับความพอใจของท่าน อยู่ในระดับมาก ในส่วนกลุ่มของข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ท่าน
สามารถแยกแยะชนิดข้าวที่น ามาทดลองได้โดยการสัมผัส (การชิม), ท่านสามารถแยกแยะความแตกต่างของ
ข้าวหอมมะลิไทย, สามารถแยกแยะความหลากหลายของรสชาติข้าวหอมแต่ละชนิดในคราวเดียวกัน, เมื่อได้
ชิมข้าวที่น ามาทดลอง ท าให้ท่านรู้สึกได้ทันทีว่าเป็นข้าวหอมมะลิไทย จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคยังมีความลังเลใน
การแยกแยะข้าวหอมแต่ละชนิด ยังไม่สามารถจ าแนกได้ทันทีว่าเป็นข้าวหอมมะลิไทย การส่งเสริม
ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อข้าวไทยให้ผู้บริโภคชาวจีนรู้จักอย่างกว้างขวาง เช่น
การให้ข้อมูลด้านคุณภาพข้าว การแยกแยะชนิดของข้าวว่า เป็นข้าว“Thai Hom Mali Rice” หรือ “Thai
Fragrant Rice/Thai Jasmine Rice/Thai Aromatic Rice” หรือ “White Rice” การให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
เครื่องหมายรับรองคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ของไทย
รวมทั้งการให้ผู้บริโภคได้ทดลองชิมข้าวไทยในโอกาสต่างๆ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการจ าหน่ายข้าวไทยใน
ตลาดจีนเพิ่มมากขึ้น
4.3 คุณลักษณะข้าวหอมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภค
คุณลักษณะข้าวหอมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคชาวจีน
เมื่อเทียบกับข้าวหอมจากประเทศอื่นๆ ผ่านการทดลองการรับรู้ทางประสาทสัมผัส โดยท าการประมาณการ
จากฟังก์ชันอรรถประโยชน์ และน าข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามในส่วนที่ 3 และส่วนที่ 5 (แบบจ าลอง
ทางเลือก) มาใช้ในการวิเคราะห์ โดยแบบสอบถามในส่วนที่ 5 นี้ จะมีทั้งหมด 5 ชุด ใช้วิธีการสุ่มแจก
แบบสอบถามแต่ละชุดในปริมาณที่เท่าๆกันแล้วพิจารณาถึงผลของความพึงพอใจและความเต็มใจจ่ายของ
ผู้บริโภคชาวจีน โดยใช้แบบสอบถาม 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 (CEa1- CEa5) จะน าเสนอชุดทางเลือกให้กลุ่ม
ตัวอย่างตัดสินใจเลือกข้าวหอมที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน ผ่านการทดลองการรับรู้ทางประสาทสัมผัส โดย
ผู้ตอบแบบสอบถามจะไม่ทราบว่าข้าวหอมนั้นๆ มีต้นก าเนิดมาจากประเทศใด (Blind Testing) โดยจะมีเพียง
ปัจจัยด้านราคาก าหนดให้ ผลจากการทดลองท าให้ทราบถึงความพึงพอใจของผู้บริโภค ความสัมพันธ์ทางด้าน
ราคาและการตัดสินใจซื้อหลังจากที่ได้เห็น ได้กลิ่น ทดลองชิม และสัมผัส จากนั้นใช้แบบสอบถามรูปแบบที่ 2
(CEb1) เป็นแบบสอบถามชุดทางเลือกเสมือนจริง มีการก าหนดคุณลักษณะต่างๆของข้าวหอมไว้ในชุด
ทางเลือก เช่น รสชาติ ความหอม ความสมบูรณ์ของเมล็ดข้าว ตรารับรองมาตรฐาน ราคา เป็นต้น ดังได้กล่าว
ไว้แล้วในบทที่ 3 รายละเอียดผลการศึกษาแสดงได้ดังตารางในส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 5
68