Page 88 -
P. 88
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 19 การตัดสินใจเลือกแหล่งต้นก าเนิดข้าวหอม ผ่านชุดทางเลือกและประสาทสัมผัส (ต่อ)
แหล่งต้นก าเนิด รวม/เฉลี่ย (คน) ร้อยละ
ข้าว C
ไทย 124 18.6
จีน 70 10.5
กัมพูชา 218 32.8
เวียดนาม 253 38.0
รวม 665 100.0
ข้าว D
ไทย 242 36.4
จีน 120 18.0
กัมพูชา 164 24.7
เวียดนาม 139 20.9
รวม 665 100.0
ที่มา: จากการส ารวจ 2562
ค าถามในส่วนของตารางที่ 19 ข้างต้นนี้เป็นการทดลองผ่านประสาทสัมผัส หลังจากที่ผู้บริโภคมี
ประสบการณ์ได้ทดลองชิมข้าวหอมทั้ง 4 ชนิดแล้ว ให้ผู้บริโภคเลือกแหล่งต้นก าเนิดของข้าวหอมนั้นๆ พบว่า
ข้าว A (ข้าวจีน) ผู้บริโภคคิดว่าเป็น ข้าวจีน จ านวน 353 คน ซึ่งเป็นค าคอบที่ถูกต้องชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคมี
ประสบการณ์การกิน คุ้นชินกับคุณลักษณะของข้าวจีนเป็นอย่างดี ท าให้ตอบได้ว่าข้าวนี้เป็นข้าวจีน ข้าว B
(ข้าวกัมพูชา) ผู้บริโภคคิดว่าเป็น ข้าวไทย จ านวน 194 คน คิดว่าเป็นข้าวเวียดนาม จ านวน 176 คน และคิด
ว่าเป็นข้าวกัมพูชา จ านวน 143 คน ตามล าดับ จากผลการทดลองนี้ผู้บริโภคได้ทดลองชิมข้าวแล้วมีความคิดว่า
ข้าวกัมพูชาเป็นข้าวไทย เป็นการเน้นย้ าถึงสภาพปัจจุบันของข้าวหอมมะลิไทย ที่ต้องเล็งเห็นถึงความส าคัญ
ที่ว่าคุณภาพ คุณลักษณะของข้าวกัมพูชานั้นเป็นคู่แข่งทางการตลาดที่ส าคัญและได้รับรางวัลข้าวระดับโลก
“World’s Best Rice” อันดับ 1 ในปี 2561 ข้าว C (ข้าวเวียดนาม) ผู้บริโภคคิดว่าเป็น ข้าวเวียดนาม จ านวน
253 คน ซึ่งเป็นค าตอบที่ถูกต้อง อาจเป็นไปได้ว่าเนื่องจากจีนมีการน าเข้าข้าวจากเวียดนามมากที่สุดเป็น
อันดับ 1 ผู้บริโภคมีประสบการณ์เคยบริโภค คุ้นชินกับข้าวเวียดนาม ข้าว D (ข้าวไทย) ผู้บริโภคคิดว่าเป็น ข้าว
ไทย จ านวน 242 คน ซึ่งเป็นค าตอบที่ถูกต้อง เนื่องจากไทยส่งออกข้าวไปยังจีนเป็นระยะเวลายาวนาน ข้าว
ไทยมีคุณลักษณะ คุณภาพและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ชาวจีนนิยมบริโภค รองลงมาคิดว่าข้าวไทยเป็นข้าวกัมพูชา
จ านวน 164 คน สอดคล้องกับผลการทดลองของข้าว B (ข้าวกัมพูชา)
71