Page 129 -
P. 129
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สรุปสมมติฐานที่ 5
ปัจจัยทางด้านการรับรองมาตรฐานที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ซื้อ มีค่า Sig. เท่ากับ .000 ซึ่งมีค่าน้อย
กว่า .05 ปัจจัยทางด้านการรับรองมาตรฐานนั้นมีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ สอดคล้องกับ
Magdalena Grebosz (2012) ที่แสดงให้เห็นว่า การรับรู้ของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง
มาตรฐานคุณภาพนั้น มีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการรับรู้คุณภาพของสินค้า ภาพลักษณ์สินค้า ทัศนคติต่อตรา
สินค้า และทัศนคติต่อตราสินค้าที่ดีก็มีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อสินค้านั่นเอง การวิจัยได้สร้างแบบจ าลอง
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลกระทบโดยตรงและได้ข้อสรุปว่าการมีตรารับรองมาตรฐาน เป็นปัจจัยทาง
การตลาดที่ส าคัญที่สามารถปรับปรุงคุณภาพการรับรู้ของผลิตภัณฑ์และมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า
ต่อไปรวมถึงทัศนคติเชิงบวกของผู้บริโภค และการตัดสินใจซื้อ
ปัจจัยทางด้านประเทศต้นก าเนิดต่อผู้บริโภคชาติพันธุ์นิยม
ตารางที่ 45 แสดงการวิเคราห์ปัจจัยทางด้านประเทศต้นก าเนิดมผลต่อชาติพันธุ์นิยมของผู้บริโภค
ผู้บริโภคชาติพันธุ์นิยม
Pearson Sig. ทิศทาง ระดับ
Correlation (2- tailed) ความสัมพันธ์
ประเทศต้นก าเนิด -.080 .040 เดียวกัน สูง
ที่มา: จากการส ารวจ 2562
สมมติฐานข้อที่ 6 ปัจจัยด้านประเทศต้นก าเนิดที่แตกต่างกันมีผลต่อผู้บริโภคชาติพันธุ์นิยมที่แตกต่าง
กันสามารถเขียนเป็นสมมติฐานทางสถิติได้ดังนี้
H0: ปัจจัยด้านประเทศต้นก าเนิดข้าวหอมที่แตกต่างกันมีผลต่อผู้บริโภคชาติพันธุ์นิยมที่ไม่แตกต่างกัน
H1: ปัจจัยด้านประเทศต้นก าเนิดข้าวหอมที่แตกต่างกันมีผลต่อผู้บริโภคชาติพันธุ์นิยมที่แตกต่างกัน
สรุปสมมติฐานที่ 6
จากตารางที่ 45 ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยทางด้านประเทศต้นก าเนิดมีผลต่อชาติพันธุ์นิยมของผู้บริโภคที่
ต่างกันโดยรวมมีค่า Sig. เท่ากับ .040 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 นั่นคือปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H0) ยอมรับสมมติ
ฐานรอง (H1) ซึ่งหมายความว่า ปัจจัยทางด้านประเทศต้นก าเนิดมีผลต่อชาติพันธุ์นิยมของผู้บริโภคโดยรวม
แตกต่างกัน สอดคล้องกับ Klain and Ettenson, (1999) ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศต้นก าเนิดมีผลกระทบต่อ
การประเมินผลิตภัณฑ์ต่อประเทศของผู้บริโภคผ่านชาติพันธุ์แตกต่างกันผ่านความอคติหรือความเกลียดชัง
112